Art

ชวนมองภาพถ่ายในบรรยากาศใหม่ ผ่านเลนส์และงานโมชั่นของ “Peerafoto”

Through the Lens of Neon & Motions With Peerafoto

“DREAM BANGKOK” เป็นงาน NFT ที่เรามีโอกาสได้เห็นบนจอดิจิทัลในโปรเจกต์ #BKKNFT เมื่อไม่นานมานี้ และคิดว่ามันพิเศษมากทีเดียว เพราะวิวกรุงเทพที่เต็มไปด้วยแสงไฟกับการมองเห็นทางช้างเผือกนั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย แต่คุณ โอ - พีระ สถวิรวงศ์ เจ้าของผลงานนี้ก็ทำให้มันเป็นจริงขึ้นมาได้ 

“ความสวยงามอยู่รอบตัวเราเสมอ แต่บางครั้งเพราะอะไรบางอย่าง เราจึงไม่สามารถมองเห็นได้ เหมือนกับที่ในความเป็นจริงแล้ว การมองเห็นทางช้างเผือกในกรุงเทพนั้นเป็นเรื่องยากมาก เพราะมันมักจะถูกแสงสีจากเมืองบดบังไปซะหมด” 

คุณโอพูดถึงจุดประสงค์ของการสร้างสรรค์ภาพนี้ ก่อนจะเล่าถึงที่มาที่ไปของภาพว่า มันเป็นการผสมผสานระหว่างภาพวิวยามค่ำคืนของกรุงเทพและภาพทางช้างเผือกที่ตัวเองเคยถ่ายไว้ แล้วเอามาใส่แสงวิบวับเข้าไปให้กลายเป็นภาพเคลื่อนไหวที่ดูเหนือจริง (Surreal) ซึ่งเป็นที่ถูกใจของ Collector หลายคนเอามากๆ และทำให้ภาพนี้ถูกซื้อไปที่ราคาสูงถึง 0.825 ETH

อย่างไรก็ตาม NFT ของคุณโอหรือครีเอเตอร์ที่ใช้ชื่อว่า Peerafoto ยังมีอีกหลายภาพที่น่าสนใจไม่แพ้กัน เราไม่รอช้าที่จะชวนเขามาบอกเล่าถึงงานของตัวเองให้ชาว EQ ได้รู้จักกันมากขึ้น

Peerafoto สร้างงานแบบไหนบ้าง

งานของผมจะมีทั้งภาพเดี่ยวและภาพที่ลงเป็นคอลเล็กชันครับ ภาพที่ลงขายแบบเดี่ยวๆ จะเป็นการนำภาพที่ถ่ายตอนไปเที่ยวญี่ปุ่นและในประเทศไทยมาทำใหม่ ใส่แสงสี ใส่การเคลื่อนไหว แต่เราก็จะประเมินถึงความเป็นไปได้ถึงการแต่งให้เข้ากับโทนสีที่อยากทำด้วยนะ เพราะไม่ใช่ทุกภาพที่มันจะเอามาทำได้ 

ส่วนคอลเล็กชัน NEON BANGKOK ที่เพิ่งเริ่มทำเมื่อเดือนที่แล้ว จะนำเสนอสถานที่ท่องเที่ยวในกรุงเทพที่นักท่องเที่ยวอาจไม่ค่อยได้เห็น ผ่านรูปภาพที่ถ่ายขึ้นใหม่ทั้งหมด เรียกได้ว่าเริ่มต้นใหม่ตั้งแต่หาโลเคชั่น หามุม ถ่ายภาพ และดีไซน์งานเลย

นิยามงานของตัวเองว่า…

“ภาพถ่ายที่ทำให้น่าสนใจมากขึ้นด้วยการทำให้เคลื่อนไหว และใส่แสงสีนีออนแบบ Cyberpunk เข้าไปครับ”

มันเป็นสไตล์ที่ผมชอบและอยากทำ เพราะได้แรงบันดาลใจมาจากงานอดิเรก เช่น การเล่นเกม อ่านมังงะ ดูอนิเมะ หรือพวกหนัง Sci-Fi เวลาทำสิ่งเหล่านี้จะมีความรู้สึกว่าถ้ามันเกิดขึ้นได้ในโลกของความเป็นจริงก็น่าจะเจ๋งดี อย่างงานที่ชื่อว่า Cyber Station ที่ผมชอบมากๆ เป็นรูปรถไฟของญี่ปุ่นที่เอามาเติมแต่งแสงสีนีออนเข้าไป แล้วใส่โมชั่นการเคลื่อนไหว เพื่อให้มันได้ความรู้สึกเหมือนอยู่ในโลกของเกม

ตัวตนของผู้สร้างงาน 

ถ้าไม่นับเรื่องเทคนิคการเคลื่อนไหว แล้วมองแค่องค์ประกอบภาพถ่าย เราก็มองว่าแต่ละชิ้นงานของ Peerafoto มันสวยมากๆ อยู่แล้ว แบบนี้อาชีพหลักคงไม่พ้นช่างภาพใช่ไหมคะ?

“ใช่ครับ อาชีพหลักผมเป็นช่างภาพสต๊อกสาย Landscape ท่องเที่ยว ที่ขายภาพออนไลน์มา 9 ปีแล้ว และเห็นความเปิดกว้างของตลาด NFT ทั้งในแง่ไอเดีย เทคนิค และการสร้างรายได้ ก็เลยเข้าสู่วงการนี้ตั้งแต่มีนาคมปีก่อน ตอนแรกเริ่มขายที่ Opensea แต่รู้สึกว่างานภาพถ่ายยังค่อนข้างจำกัดกับการลงภาพเยอะเป็นคอลเลกชัน พอดีกับที่ได้ Invited มาใหม่ เลยได้ไปลงขายงานแบบเป็นชิ้นเดี่ยวๆ อยู่ที่ Foundation ยาวๆ ครับ” 

โอกาสดีๆ ที่มาพร้อม NFT 

เราเห็นว่า NFT ที่คุณโอทำค่อนข้างฉีกจากสไตล์งานภาพสต๊อกของตัวเองพอสมควร ทำไมถึงเป็นแบบนั้น?

“งานทั้งสองแบบมัน Based on มาจากการถ่ายภาพเหมือนกัน แต่ภาพสต๊อกจะเน้นจัดองค์ประกอบแบบเคลียร์ๆ ไว้ก่อน เพื่อให้ลูกค้าเอาไปใช้ได้ง่าย ส่วน NFT มันไร้ข้อจำกัด ผมอยากทำภาพแบบไหน โทนสีอะไรก็ทำได้ เป็นตัวของตัวเองได้เต็มที่ ซึ่งตรงนี้มันเป็นโอกาสครั้งแรกที่ทำให้ผมได้เริ่มเรียนรู้การทำภาพเคลื่อนไหว (ที่ไม่เคยทำมาก่อน) เป็นอะไรที่ใหม่มาก กว่าจะได้งาน NFT สักชิ้นก็นาน เพราะเราไม่เคย แต่ผมว่ามันก็สนุกไปอีกแบบ”

นอกจากการทำภาพเคลื่อนไหวแล้ว คุณโอยังเล่าเพิ่มเติมอีกว่า NFT ยังให้โอกาสที่น่าจดจำอีกหลายครั้ง เช่น การขายงานชิ้นแรกได้ การที่มี Collector มาแข่งกันประมูลงานของเขา (Bid Wars) หรือตอนที่ผู้ชนะประมูลมาทวีตถึงเขาว่าชื่นชอบงาน ซึ่งมันเป็นแรงขับเคลื่อนให้เขามีแรงทำงานชิ้นใหม่ต่อไปได้เป็นอย่างดี

ช่วงแรกที่ก้าวมาทำสิ่งใหม่ในตลาดใหม่ ได้เตรียมใจไว้ไหมถ้าเกิดขายงานไม่ได้

“ถ้าสมมติงานขายไม่ได้ ผมก็จะกลับมาดูงานตัวเองแล้วพัฒนาให้มันดีขึ้นนะ 

ผมเชื่อว่าโอกาสมันจะมา ถ้างานเราดีพอ”

ปัญหาที่ก้าวผ่านมาแล้ว

หลังจากทำ NFT มาสักพัก มีปัญหาอะไรบ้างที่เคยเจอและอยากมาแชร์กับพวกเรา

“Scammers ครับ เจอเยอะมาก ส่วนใหญ่มาจากทวิตเตอร์ เช่น มาในรูปแบบเป็น Collector ที่อยากซื้องานเราแต่ให้เราโอนเงินค่าแก๊สให้หน่อย หรือจะเป็นการมาหลอกให้คลิกลิงค์ Invited มันหลายรูปแบบมาก ซึ่งไม่ค่อย Make Sense ก็รู้สึกว่ามันไม่ใช่แล้ว เวลาเขาส่งลิงค์มาผมก็จะไม่กล้ากดเข้าไป ศิลปินหน้าใหม่ต้องระวังเรื่องนี้มากๆ เพราะมีโอกาสถูกแฮก E-wallet ได้” 

เป้าหมายของ Peerafoto ในปีนี้

แพลนของปีนี้ก็คือการทำคอลเลกชัน NEON BANGKOK ให้ดีที่สุด คือออกไปถ่ายรูปมุมใหม่ๆ ให้มากที่สุด เพราะอย่างที่รู้กันว่าในกรุงเทพมีมุมสวยๆ เยอะ เราอยากจะให้คนอื่นได้เห็น และจะพยายามพัฒนางานของตัวเองให้มีความสวยงามมากขึ้น ส่วนในอนาคตก็จะมีคอลเล็กชันอื่นๆ ที่เรามีไอเดียไว้แล้วเพิ่มเติมขึ้นมาอีก ก็อยากให้รอติดตามกันครับ ฝากด้วยครับ

ติดตามผลงานและพูดคุยกับ Peerafoto ทั้งหมดได้ที่ 

Foundation: Peerafoto

Facebook: Peera Sathavirawong

Twitter: Peera_Foto

Instagram: peera_foto

“DREAM BANGKOK” is the name of one of the most impressive NFTs we had the pleasure of admiring in the recent edition of #BKKNFT. Created by photographer Peera "O" Sathavirawong, the piece features Bangkok’s skyline at night but with an addition of the majestic Milky Way hanging above the capital. Since we loved it so much, we decided to sit down with the creator to talk about his inspiration for “DREAM BANGKOK” and his NFT journey so far.

“Beauty is all around us, but sometimes, for some reason, we cannot see it. In reality, it’s impossible to catch a glimpse of the Milky Way in Bangkok because it’s overshadowed by all the city lights,” O aka Peerafoto begins. “The piece captures Bangkok’s nighttime views with my own photo of the Milky Way incorporated. I added some flickering light motion to it to make it even more surreal. Many collectors seemed to love it and it was finally sold for 0.825 ETH.”

What kind of NFT art do you create?

“I create both standalone pieces and collections. For standalone pieces, I recreated photos I took in Thailand and Japan, adding lights and movement to them to make them pop. As for collections, I just finished one called ‘NEON BANGKOK’ which features unseen attractions in Bangkok. It’s a project that I had to start from scratch, from finding locations to snapping photos.”

How would you define your artwork?
“It’s the style that I love which is inspired by things like video games, manga, anime, and Sci-Fi movies. When I create all these scenes, I like to imagine what it would be like if they actually existed in real life. For example, I really love this one called Cyber Station which is a photo of a shinkansen enhanced with neon lights and motion. It’s just like a scene from a video game.”

“I make my photos more interesting by adding eye-catching Cyberpunk neon lights and movement.”

From photographer to NFT creator

“I work as a stock photo photographer and I’ve been selling landscape images online for about nine years now. I started creating NFT art in March last year because I saw the potential of the market in terms of opportunities and income. I actually started out on OpenSea, but I found it quite restricting when it comes to selling collections so I switched to Foundation when I got an invite.”

The transition to NFTs

“For stock photos, I have to make sure that the composition is clear and easy for the client to use. But with NFTs, I can create whatever I want. It allows me to really be myself and learn new skills like making moving images. It takes me longer to create NFT art but it’s also a lot of fun.”

“There are many memorable moments since I got into the scene like when I had bid wars for one of my pieces or one of the collectors told me that he loved my work on Twitter. These things really keep me motivated.”

What do you do when your work doesn’t sell?
“I would go back and take a look at my work and see how it can be improved. I believe that if my work is good enough, opportunities will come eventually.”

What challenges do you face as a creator?

“I would say, scammers. There are a lot of them on Twitter. They pretend to be a collector asking you to send them gas fees or click on suspicious links. New creators should really be careful because they can hack into your E-wallet very easily.”

What is your goal this year?

“I’m planning to make ‘NEON BANGKOK’ the best collection possible. I want to go out and explore all these undiscovered spots in Bangkok and take lots of snapshots of them. I have a lot of ideas for future collections too, so please keep an eye out!”