Culture

สนทนากับ “แบงค์-ดรณ์” แชมป์โลก Hip-Hop Double กับเบื้องหลังความสำเร็จ และวงการฮิปฮอปแดนซ์ในไทย

World Hip-Hop Double Champions Bank & Dorn Talks Their Path to Success and the Hip-Hop Dance Scene in Thailand

“Got me so high, and then she dropped me. But she got me, she got me, she got me bad ♫”

ในช่วงนี้ คอกีฬาคงคุ้นเคยกับเพลงนี้กันพอสมควร เพราะนอกจาก Lucky Strike ของ Maroon 5 จะเป็นเพลงฮิตเมื่อหลายปีก่อนแล้ว ยังเป็นเพลงที่ แบงค์ - นพรัตน์ บุญรัตน์ และ ดรณ์ - กร คุ้มราช คู่หูแชมป์โลก Hip-hop Dance ประเภท Double เลือกไปใช้ในการแข่งขัน “THE 2022 ICU JUNIOR WORLD & WORLD CHEERLEADING CHAMPIONSHIPS” ที่ผ่านมาด้วย 

เมื่อพูดถึงฮิปฮอปแดนซ์ จริงๆ แล้วมันก็ไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับบ้านเรา แต่สิ่งที่เราต่างทราบกันดีคือ การเต้นสไตล์นี้ตลอดจนถึงการต่อยอดสู่เส้นทางนักกีฬา ยังเป็นเรื่องเฉพาะกลุ่ม ทำให้มีข้อจำกัดที่ไม่เอื้อต่อการผลักดันเข้าสู่นักกีฬาอาชีพสักเท่าไหร่ การคว้าแชมป์โลกครั้งนี้ของทั้งคู่จึงเหมือนการเขย่ากระแสอะไรบางอย่างในวงการกีฬา นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเราถึงอยากสนทนากับพวกเขา ในหลากหลายเรื่องราวที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังความสำเร็จในครั้งนี้

จากซ้ายไปขวา: แบงค์ - ดรณ์

ความรู้สึกถึงแชมป์โลกที่เพิ่งคว้ามา 

แบงค์: ดีใจครับ แต่รู้สึกว่าบรรยากาศมันแตกต่างจากงานอื่นที่เราเคยไปแข่งในต่างประเทศมากเหมือนกัน 

ดรณ์: ปกติแล้วพวกผมมาจากสายฮิปฮอป ส่วนใหญ่งานจะไม่ได้เป็นทางการมากเหมือนงานนี้ ถือเป็นความรู้สึกที่แปลกใหม่ ถามว่าดีใจไหม ก็ดีใจนะครับ แต่ผมเชื่อว่าตำแหน่งอยู่ไม่นาน ตำนานจะอยู่ตลอดไป (หัวเราะ)

ยากไหมกับการเปลี่ยนจากคู่แข่งมาเป็นคู่หู

ดรณ์: ไม่ยากครับ เพราะเราสนิทกันอยู่แล้ว ก่อนหน้านี้ถึงไม่มีแข่งเราก็คุยกันตลอด พอต้องมาเต้นคู่กันก็ไม่ต้องปรับอะไรมาก เพราะเราเต้นสไตล์เดียวกัน เข้าใจกันดี มองตาก็รู้ใจแล้ว

ความแตกต่างระหว่างการแข่งแบบเดี่ยว คู่ ทีม

แบงค์: การแข่งคนเดียว (Battle) จะใช้สกิลส่วนตัวสูง เหนื่อยมาก แต่ถ้าแข่งคู่ จะเหนื่อยไปอีกแบบ เพราะว่าต้องเอาให้อยู่ทั้งโชว์ ต้องเชียร์อัปกันตลอด และการแข่งเป็นทีมก็จะมีสมาชิกในทีมค่อยเติมจุดต่างๆ จะไม่เหนื่อยมาก

คิดว่าอะไรที่ทำให้เราได้แชมป์โลก?

ดรณ์: ความเข้าขากัน เพราะว่าเราแข่งเป็นคู่ มันต้องมองแล้วรู้ว่าควรทำอะไรต่อ แล้วก็มีเรื่องของโอกาสครับ พอได้เข้ามาเป็นนักกีฬาทีมชาติ เราได้รับการสนับสนุนหลายอย่างจากสมาคมกีฬาเชียร์แห่งประเทศไทย และจากผู้ใหญ่หลายท่าน อย่างปกติถ้าซ้อมกับทีมตัวเอง ไม่เคยมีสถานที่ซ้อมเป็นหลักแหล่ง ต้องเปลี่ยนไปเรื่อยๆ แต่พอเป็นนักกีฬา เรามีสถานที่ซ้อม มีโค้ชช่วยดูความเหมาะสม มีการเทรนนิ่งร่างกาย 

แบงค์: นอกจากที่ดรณ์บอกไป แบงค์มองว่ามีเรื่องของการใส่ใจกับการเลือกเพลงและการคิดท่าเต้นด้วย เราต้องดีไซน์ให้มันแปลกใหม่ อย่างท่าเต้นเราจะปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ แทบทุกวันจนถึงวันแข่งเลย เพราะว่าทุกวันเราจะมีความคิดใหม่ๆ ผุดขึ้นมา แล้วให้โค้ชช่วยดูว่าโอเคไหม เพราะการแข่งมีกฎกติกาเยอะ จะได้ไม่พลาด

ทำไม่ต้องเพลง Lucky Strike

แบงค์: เราใช้ตั้งแต่ตอนคัดตัว เพราะรู้สึกว่ามันฟีลกู้ด และอยากมอบความรู้สึกสนุกไปให้คนดู จริงๆ นักเต้นก็เหมือนศิลปินคนหนึ่ง ถ้าเกิดเราเต้นแล้วเราไม่รู้สึกดี ไม่รู้สึกสนุก คนดูก็จะไม่รู้สึกตามไปด้วย เราเลยเลือกเพลงนี้

ย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้นของเรากับฮิปฮอปแดนซ์

แบงค์: สมัยนั้นมันมีหนังชื่อว่า “BIG BOY” (2553) ที่เกี่ยวกับการเต้นบีบอย เราเห็นแล้วชอบ ชอบในการใช้ร่างกาย การเคลื่อนไหวต่างๆ มันดูสวยงาม เลยมาฝึกเต้นเองก่อน พอดีที่ตอนนั้นโรงเรียนมีศูนย์เพื่อนใจ “TO BE NUMBER ONE” เราก็ได้เข้าไปเป็นทีม Dancercise ของโรงเรียน มีโอกาสไปแข่งระดับจังหวัด ระดับภาค และระดับประเทศอยู่เรื่อยๆ 

“ตอนเด็กๆ แบงค์เรียนที่ชลบุรี แต่ช่วงที่กลับไปเยี่ยมบ้านที่บุรีรัมย์ ญาติเห็นเราตีลังกาได้ เต้นได้ ก็ชวนให้มาช่วยทีม ด้วยความที่ชอบมากเลยตัดสินใจย้ายมาโรงเรียนที่บุรีรัมย์เลย พอมองย้อนกลับไปก็รู้สึกว่าวันนั้นว่าคิดไม่ผิดจริงๆ” – แบงค์

ดรณ์: ผมเริ่มมาจากที่โรงเรียนส่งไปแข่งก่อน เหมือนโดนบังคับก่อน แต่รู้ตัวอีกทีเราก็ชอบและรู้สึกว่ามาถูกทางแล้ว ผมชอบที่ฮิปฮอปแดนซ์มันเป็นจุดเริ่มต้นของทุกอย่าง เป็นเหมือนจังหวะนับ 1 ของทุกสไตล์การเต้น 

เมื่อเทียบฮิปฮอปแดนซ์ไทยกับต่างประเทศ

แบงค์: มันกว้างขวางกว่าเมื่อก่อนแล้ว แต่ยังกระจัดกระจายกันอยู่ เพราะบ้านเรายังไม่มีสมาคม Hip-hop ที่คอยสนับสนุนนักกีฬาแบบจริงจัง มันเคยจะมีแล้วนะครับ แต่ว่าพับโครงการไปก่อนด้วยเหตุผลอะไรหลายอย่าง ทำให้วงการเต้นฮิปฮอปไม่ได้มีเงินสนับสนุนมากพอ บางครั้งนักกีฬาต้องออกค่าใช้จ่ายเอง คนเลิกเต้นกันไปก็เยอะ

ดรณ์: ผมว่าทุกประเทศมีการสนับสนุนต่างกัน เพราะเข้าใจฮิปฮอปต่างกัน จริงๆ ฮิปฮอปไม่ใช่แค่การเต้น แต่เป็นวัฒนธรรมหนึ่งเลย อย่างต่างประเทศเขามี Real Hip-hop ที่สอนตั้งแต่การใช้ชีวิต จนถึงการเต้น แต่ในไทยเราต้องลองผิดลองถูกกันเอง บวกกับในอดีต ผู้ใหญ่บางท่านเขายังมองว่าฮิปฮอปดูไม่โอเค มันเลยไม่โตในบ้านเราสักที แต่ตอนนี้พอพวกผมเริ่มได้รางวัลกลับมา คาดว่าผู้ใหญ่หลายคนคงเริ่มเปิดใจกันมากขึ้นแล้ว

ข้อจำกัดที่เราพูดมา เคยทำให้รู้สึกเสียดายหรือด้อยกว่านักกีฬาประเทศอื่นไหม 

แบงค์: ไม่ครับ เพราะแม้ว่าเราจะมีบางอย่างไม่เท่าเขา แต่การได้ไปแข่งทำให้ได้เห็นอะไรมากขึ้น แล้วสามารถนำกลับมาใช้พัฒนาตัวเองได้

“ผมไม่ได้รู้สึกว่าเราด้อยนะครับ เพราะเข้าใจว่าเราต้องใช้เวลาทำความเข้าใจการเต้นฮิปฮอปมากกว่าคนอื่นหน่อย ตอนนี้ผมก็ยังคิดว่าตัวเองยังไม่เข้าใจมันทั้งหมด การได้ไปเจอคนเก่งๆ ในต่างประเทศ ก็เหมือนการไปเก็บประสบการณ์” – ดรณ์

เป้าหมายหลังจากนี้ที่อยากทำให้ได้

แบงค์: ถ้ามีแข่งระดับจักรวาลก็อยากไปครับ (หัวเราะ) ถ้านอกเหนือจากรางวัล แบงค์อยากเปิดสตูดิโอสอนเต้นเป็นของตัวเอง 

ดรณ์: ผมไม่ต้องการอะไรมาก แค่อยากให้นักเต้นทุกคนรู้ว่าเรามีตัวตน เราเป็นใคร เห็นเราแล้วร้องอ๋อว่านี่คือ “ดรณ์”

รายการที่เตรียมตัวแข่งในเร็วๆ  นี้

ดรณ์: “WORLD HIP HOP DANCE CHAMPIONSHIP HHI” ช่วงเดือนสิงหาคมนี้ครับ ผมลงไป 3 รุ่น เพราะเป็นรายการที่ผมคาดหวังมาก มันเป็นเวที Hip Hop International ความชอบผมเริ่มมาจากตรงนั้น ก็อยากจบที่เวทีนี้ ตอนนี้ซ้อมหนักหน่วงเลย ตั้งแต่ 18:00-08:00 น. ส่งใจมาเชียร์กันได้ครับ

แบงค์: แบงค์ลงรายการเดียวกับน้อง แต่ลงไปแค่รุ่นเดียว เพราะเราต้องทำงานเป็นวิทยากรพิเศษของ “TO BE NUMBER ONE” ด้วย เลยเน้นไปเชียร์น้องมากกว่า (หัวเราะ) ก็แบ่งเวลามาซ้อมเอา ยอมเหนื่อยหน่อย เพราะเราเลือกแล้ว

บทสนทนาในครั้งนี้ น่าจะช่วยคลายข้อสงสัยให้เราได้เป็นอย่างดีว่ามีอะไรบ้างที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังความสำเร็จของ “แบงค์และดรณ์” แต่เหนือสิ่งอื่นใด สิ่งสำคัญที่สุดก็ยังคงเป็นความพยายามของคนทั้งคู่ที่ไม่ย่อท้อ แม้หลายอย่างอาจไม่เอื้ออำนวยต่อเส้นทางการเป็นนักกีฬาอาชีพ อย่างไรก็ตาม EQ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าในอนาคต นักกีฬาฮิปฮอปแดนซ์คนอื่นๆ จะได้รับการสนับสนุน และคว้าแชมป์ในสนามนานาชาติกลับมาอีกครั้ง

สามารถชมคลิปการแข่งขันของทั้งคู่ได้ที่:

ชมลีลานักเต้นเท้าไฟของ "ดรณ์-แบงค์" 2 ฮิปฮอปไทยดีกรีแชมป์โลก 2022

https://www.youtube.com/watch?v=-CbdfOJ6oEE

WORLD CHAMPION DAY ความสำเร็จนักกีฬาเชียร์ทีมชาติไทย การแข่งขันเชียร์ลีดดิ้งชิงแชมป์โลก 2022 

ติดตามและอัปเดตเรื่องราวของทั้งคู่ได้ที่:

Instagram (แบงค์): bank_garnet

Instagram (ดรณ์): dornkhumraj

“Got me so high, and then she dropped me. But she got me, she got me, she got me bad”

If you’ve been keeping up with sports lately, you’re likely familiar with this song. Maroon 5’s “Lucky Strike,” a popular tune from 2012, holds a special significance. It’s the very song that Nopparat “Bank” Boonrat
and Dorn Khumraj, the current World Hip-hop Double Champions, chose for their performance at the 2022 ICU Junior World & World Cheerleading Championships.

Although hip-hop dance isn’t exactly a novelty in Thailand, what’s widely acknowledged is that it has taken on an exclusive aura as it evolves into a legitimate sport. This exclusivity has brought certain limitations, making it hard for dancers to smoothly transition into the professional level. But the recent victory achieved by Bank and Dorn in the world championship has thrown open the doors of opportunity, potentially reshaping the landscape of hip-hop dance within the local scene.

Left to right: Bank, Dorn

How did it feel being world champions?
Bank:
Super happy! But I have to say that the vibe felt different from other events we competed in.
Dorn: Most events in the hip-hop scene aren’t as formal as this one. It’s a whole new feeling, you know? I’m happy about it, though. The title may not last long, but the legend status? That’s forever (laughs).


As former competitors, how did it feel to compete as a duo?
Dorn:
We’re super close, actually! Even before we got into the competition scene, we were talking nonstop. So, when it comes to dancing together, there isn’t a lot to tweak. Our dance style is the same, and we vibe really well. Just a look is enough to get what the other is thinking.

The difference between competing solo, as a pair, or in a team?
Bank:
When you’re competing solo in a battle, you rely heavily on your individual skills. It’s super intense and exhausting. But in a pair competition, it’s a different kind of tiredness. You have to put on a show together, cheer each other on. When you’re in a team, you’ve got teammates who fill in different aspects, so the exhaustion isn’t as intense.

What do you think contributed to your world championship win?
Dorn:
It’s the synergy between us. Since we compete as a pair, we need to understand each other’s moves and decide what to do next. Opportunities matter too. As national athletes, we received tremendous support from the Thai Cheerleading Association and many respected figures. We now have access to facilities, suitable coaching, and physical training.

Bank: Apart from what Dorn said, I believe there’s the aspect of selecting the right song and choreography. We have to design it to be unique. Our dance moves are almost constantly changing, almost every day leading up to the competition. This is because we’re always coming up with fresh ideas every day. We then get our coach’s input to see if it works because there are many rules and regulations in competition. 

Why did you choose the song “Lucky Strike”?
Bank:
We’ve actually been using it since the auditions because we felt it had the right vibe, and we wanted to bring a sense of enjoyment to the audience. Dancers are like artists in a way. If we don’t feel good or have fun while dancing, the audience won’t feel it either.

How and when did you start dancing?
Bank:
We watched this movie about breakdancing called “Big Boy” and got really into it, especially how it showcased body movements and all sorts of different grooves. The whole thing looked so cool, which got us started on practicing dancing by ourselves. Funny enough, around that time, our school had this ‘TO BE NUMBER ONE’ Friendship Center, and we jumped into the school’s Dancercise crew. That’s where the opportunities rolled in – we competed in the provincial, regional, and even national tournaments.

“I was going to school in Chonburi, but on a trip back to Buriram, my relatives caught me doing flips and busting moves. They were like, ‘Join our team!’ And I thought, why not? So, I switched schools and moved to Buriram. Looking back, it was definitely the right decision.” - Bank

Dorn: I actually got started when my school sent me to compete, like I was being pushed into it at first. But then, I started enjoying it, feeling like I was on the right path. What I really love about hip-hop dance is that it serves as the starting point for everything – it’s like the first beat count of every dance style.

How does Thai hip-hop dance scene compare to that in other countries?
Bank:
It’s become bigger, but still somewhat scattered. That’s because we don’t have a serious hip-hop association in our country that supports athletes. There used to be one, but for various reasons, it sort of collapsed before fully developing. The Thai hip-hop dance scene lacks sufficient financial support. Sometimes dancers have to cover their own expenses. A lot of people end up quitting dancing due to this.

Dorn: You know, support for hip-hop varies from country to country because everyone sees it differently. Hip-hop isn’t just about dancing; it’s like a whole culture. In some other places, they’ve got this ‘real hip-hop’ thing going on that teaches you life skills alongside the dance moves. But here in Thailand, we’ve had to figure things out on our own. And some of the older crowd didn’t really vibe with hip-hop, it never really quite caught on. Things are improving, though, I think the older generation is starting to warm up to it.

Has that ever made you feel discouraged at all?
Bank:
No, not really. Even though we might not have the support like the dancers from other countries, going out there to compete has opened our eyes to so much more. And we can take what we’ve learned and use it to better ourselves.

“I don’t feel like we’re lesser than anyone. It might take us a bit longer to truly understand this art form. Even now, I believe there’s still much to learn. Meeting talented dancers from different countries is a way for me to gain more experience.”
- Dorn

What are you next goals?

Bank: Well, if there’s a global competition, I’d definitely want to go for it! Beyond just winning awards, I’d also like to open my own dance studio and teach. 

Dorn: I’m not aiming for anything big. I just want every dancer out there to know who we are, to understand our identity. When they see us, I want them to go “That’s Dorn!”

What upcoming competition are you preparing for in the near future?

Dorn: We have the ‘World Hip-hop Dance Championship’ coming up really soon, in August. I’m competing in three categories because it’s a competition I’ve been looking forward to. I’m putting in a lot of rehearsals now, like from 6:00 PM to 8:00 AM. Don’t forget to support us!

Bank: I’ll actually be participating in the same competition as Dorn, but in just one category. On top of that, I have commitments as a special lecturer for ‘To Be Number One,’ so my focus will be more on supporting Dorn. I’m managing to fit in some rehearsal time as well, despite it being quite exhausting. But you know, it’s what we chose to do.

As we come to the end of our chat, it’s been really enlightening to uncover what’s been driving the success of Bank and Dorn. But above all else, what truly shines through is the sheer determination you both possess. Despite the hurdles that might not always align with the path of a professional athlete, their unwavering spirit stands out. EQ genuinely hopes that more hip-hop dancers will get the backing they deserve, and once again bring international championships back to our land.