HighEQ

Jazz & Joint : ​​ประวัติศาสตร์ดนตรีแจ๊ส คำสแลง และกัญชา

The Roaring Twenties of Jazz, Slang, and Cannabis

Photo credit: Chris Bair

ประวัติศาสตร์ของกัญชาผ่านเสียงเพลงได้เริ่มจากท่วงทำนองแจ๊สในทศวรรษที่ 20 บรรเลงเพลงผ่านช่วงยุคสมัยการแบ่งแยกสีผิว ดนตรีแจ๊สเละกัญชาเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันให้คนดำได้มีโอกาสเข้าร่วมกระแสดนตรีร่วมสมัยมาจนถึงปัจจุบัน กัญชาถูกส่งผ่านเสียงดนตรีก่อนที่จะกลายเป็นการส่งผ่าน Joint ในปัจจุบัน

ถนนโลกีย์ ซ่องโสเภณี และดนตรีของคนดำ

ในช่วงก่อนต้นทศวรรษ 1920 ในย่าน Storyville รัฐ New Orleans ประเทศสหรัฐเมริกา มีชื่อเสียงด้านการเป็นถนนโลกีย์จากทำเลติดท่าเรือ เป็นแหล่งร่วมตัวของกะลาสีเรือ แก๊งและมาเฟียหลากหลายเชื้อชาติ มีการค้าขายประเวณีอย่างถูกกฎหมาย มีโรงขายเหล้าและซ่องโสเภณีที่มักจะมีดนตรีแจ๊สสดเล่นอยู่เสมอ

การเป็นนักดนตรีชาวแอฟริกัน/อเมริกันผิวดำภายใต้กฎหมายแบ่งแยกแต่เท่าเทียม (Segregation) ในตอนนั้นไม่ได้ง่ายเลย เพราะมักจะมีการกดขี่ในเรื่องของเสรีภาพภายใต้อำนาจของคนขาวทั้งทางสังคมและโอกาสทางธุรกิจอยู่เสมอ

Photo credit: 64 Parishes

แต่บนถนนโลกีย์บันเทิงของ Storyville ก็เป็นพื้นที่แรกที่ยอมให้นักดนตรีผิวดำได้มีโอกาสแสดงฝีมือเล่นดนตรีอย่างเต็มที่ ถึงแม้ว่าจะเป็นภายในซ่องหรือในโรงเหล้าก็ตาม

ภายในบาร์ที่อบอวลไปด้วยกลุ่มควัน ท่วงทำนองจังหวะผ่านเปียโน ทรัมเป็ต เบสและกลอง เป็นต้นสายธารกำเนิดของเพลงแนวแจ๊ส แต่หารู้ไม่ว่าความบันเทิงในซ่องโสเภณีและบาร์เหล้ายามราตรีร่ำร้องผ่านควัญกัญชา มิใช่การเล่นดนตรีกินเหล้าเผาหัวและกินเหล้าทั้งคืน

เมื่อย่างเข้าสู่ยุคแห่งการห้ามดื่มสุรา (Prohibition Era) ผู้คนเริ่มมองหาที่นัดพบใหม่ เหล่าบาร์ลับ Speakeasy ที่ลักลอบขายเหล้าและบาร์สูบกัญชา Tea pads ก็แห่เปิดทั่วมุมเมือง เหล่ามาเฟียกลั่นเหล้าเถื่อนเย้ยกฎหมาย ดนตรีแจ๊สได้เริ่มค่อยๆ เข้าสู่คลื่นวิทยุและกระจายเสียงเข้าไปสู่เมืองใหญ่อย่าง Chicago และ New York City

กัญชาและอิมโพรไวเซชั่น หัวใจสำคัญของดนตรีคนดำ

กัญชานั้นขึ้นชื่อในเรื่องของฤทธิ์ที่ทำให้การรับรู้ของเวลาช้าลง ส่งผลให้นักดนตรีกล้าทดลองเล่นกับท่วงทำนองอย่างสร้างสรรค์ มีส่วนสำคัญในการผลักดันดนตรีแจ๊สให้มีความลื่นไหลและจังหวะการเต้นที่เร้าใจ นับว่าเป็นเสน่ห์ที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับดนตรีแจ๊ส

เมื่อเวลาพลันช้าลง ทุกสิ่งรอบตัวก็ดูเด่นชัดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเสียง สีหรือรสชาติ กัญชาได้กลายเป็นพลังลับที่ช่วยเหล่านักดนตรีเล่นในยามราตรีจนรุ่งสางได้โดยไม่มีอาการแฮงค์ แถมยังเคลิบเคลิ้มไปทุกตัวโน้ตคีย์ที่ขยี้ตามจังหวะ

Photo credit: The Mit Press Reader

กัญชานั้นใช้กันอย่างแพร่หลายในขนกลุ่มน้อยอย่างชาวเม็กซิกันและคนดำ ที่ส่วนใหญ่จะเป็นแรงงานหลักในไร่ฝ้ายและเหมืองแร่ หลายคนก็มักจะสูบกัญชาเพื่อผ่อนคลายจากการทำงานทั้งวัน

เพราะราคากัญชาที่แสนถูก รวมไปถึงกฎห้ามสุราทำให้เหล้าหาซื้อได้ยากและมีราคาแพง และความเสี่ยงจากการกลั่นสุราต้มกินเอง หลายคนได้ยินถึงอาการป่วยและการตายด้วยด้วยน้ำเมาจากคนรอบข้างอยู่เสมอ แม้กระทั่งหลังหมดยุค Prohibition แล้วเหล้าสุรากลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้ง นักดนตรีแจ๊สส่วนมากก็ยังเลือกที่จะสูบกัญชาแทนการดื่มเหล้าและสามารถบรรเลงเพลงตลอดทั้งคืนได้โดยไม่เมาตกเวทีเสียก่อน

King of the Vipers

แม้กระทั่ง Louis Armstrong หนึ่งในศิลปินที่ทรงอิทธิพลที่สุดในวงการดนตรีแจ๊สก็เป็นหนึ่งในคนรักกัญชาอย่างเปิดเผย เขาเริ่มสูบในวัยยี่สิบต้นๆ หลังจากที่เริ่มเล่นคอร์เน็ตเพื่อหาเงิน เพื่อนในวงก็ยื่นกัญชาให้เขาลองสูบ ‘Gage’ - ชื่อเรียกกัญชาในกลุ่มนักดนตรี - เพื่อช่วยดับอาการประหม่าก่อนขึ้นโชว์

เขาติดใจในรสเคลิ้มเมาโดยพลันและมักจะสูบก่อนขึ้นเล่นหรือช่วงเข้าห้องอัดเสียงมาเสมอ จนได้สมญานาม King of Vipers โดยคำว่า ‘Vipers’ ใช้เรียกเสียงเวลาลากกัญชาสูบไม่ต่างจากเสียงฟ่อของงูพิษ

Louis Armstrong รักและชื่นชอบกัญชามากถึงกับอัดเพลงบรรเลงแจ๊ส “Muggles” ในปี 1928 ซึ่งมาจากคำว่า Muggle cigarettes หรือบุหรี่กัญชา (ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเวทมนตร์ฮอกวอตส์แต่อย่างใด) และยังเป็นหนึ่งในเพลงแรกๆ ที่นำคำสแลงกัญชามาร้องเล่นอีกด้วย

นับว่าเป็นหนึ่งในศิลปินสายเขียวที่มีพรสวรรค์เป็นอย่างมาก เขาได้ทัวร์เล่นดนตรีทั่วทวีปอเมริกา ยุโรปและเอเชีย เขามีส่วนพาดนตรีแจ๊สให้เข้าสู่ดนตรีในกระแสหลัก ไม่ใช่แค่เพียงดนตรีของคนดำหรือทาสอีกต่อไป และแน่นอนว่าเขาต้องมีกัญชาพกไว้สูบทุกวัน

ขนาดในช่วงปี 1934 เขาบินไปทำอัลบั้ม Paris Session ที่ประเทศฝรั่งเศสก็ไม่วายที่จะอัดเพลงทิ้งท้าย “Song of the Vipers” เพลงสรรเสริญเหล่าเพื่อนนักพี้กัญชา… แต่เพลงแทร็กนี้ได้กลายเป็นเพลงลับในอัลบั้มโดยปริยาย เพราะสถานีวิทยุในอเมริกาเลือกที่จะไม่เล่น อาจเพราะรู้ความหมายของชื่อแล้วก็เป็นได้

นักดนตรีแจ๊สในตำนานอย่าง Cab Calloway ก็ถือว่าเป็นหนึ่งในนักดนตรีที่เปิดเผยในการใช้กัญชาเช่นเดียวกัน และไม่วายที่จะต้องร่ำร้องเพลงถึงรสรักของดอกกัญชาผ่านเพลง “Reefer Man” ในหนังตลก International House ปี 1933 

นับเป็นเพลงแรกที่ร้องถึงคนขายกัญชาบนจอเงิน โดยแทนคำว่ากัญชาด้วย ‘Reefer’ - ผ้าใบเรือที่ม้วน - ความคล้ายคลึงของผ้าใบเรือที่ม้วนและโรลกัญชาอย่างไรอย่างนั้น

กัญชาได้เป็นแรงบันดาลใจกับศิลปินหลายคนในช่วงปี 40s - 50s มีการออกเพลงเกี่ยวกับกัญชาผ่านคำสแลงมากมาย จนค่ายเพลง Stash Records ได้ออก L.P. ในนาม ‘Reefer Songs’ ที่รวมกว่า 16 เพลงแจ๊สที่ร่ำร้องและบรรเลงถึงความรื่นเริงของพืชกัญชา

ไม่ว่าจะเป็นเพลงดังคุ้นหูอย่าง “If You’re a Viper” ของ Stuff & His Onyx Club Boys, “Jack I’m Mellow” ของ Trixie Smith, “All the Jive is Gone” ของ Andy Kirk

ทำนองเพลงเริงระบำ กัญชาและปีศาจซาตาน

แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะเห็นดีเห็นชอบกับเสียงดนตรีและกลิ่นกัญชาของชนชั้นทาส รัฐบาลและนักการเมืองหัวรุนแรงต่างพยายามหาวิธีหยุดอิทธิพลและการเรียกร้องสิทธิของคนผิวดำ ตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษ 1930 ภายใต้การทำงานของ Harry Anslinger อธิบดีปราบปรามยาเสพติดที่ทุกคนรู้ดีว่าเขานั้นเหยียดเชื้อชาติเป็นอย่างมากและต้องการปรับเปลี่ยนกฎหมายเพื่อลดการพบปะระหว่างคนขาวและคนดำ

Photo credit: Esquire

เขาต่อต้านวัฒนธรรมของกัญชาและทุกอย่างที่เกี่ยวกับมัน เพราะมันขัดแย้งกับความเชื่อในสังคมในอุดมคติของคนผิวขาวที่มองว่าตัวเองเป็นชาติพันธุ์ที่สูงส่ง

หลังจากการประกาศ Marijuana Tax Act ขึ้นในปี 1937 ซึ่งถูกใช้เพื่อควบคุมการจ่ายกัญชา แต่มันก็ยังเป็นจุดชนวนของการผลักกัญชาเข้าร่วมยาเสพติดประเภท 1 อย่างเฮโรอีน อีกทั้งเป็นการปิดผนึกการค้นคว้าวิจัยประโยชน์ของกัญชาไปอีก 60 ปีข้างหน้า

“กัญชาทำให้พวกมัน (คนดำ) คิดว่าตัวเองดีเท่ากับคนขาว”
- Harry Anslinger

เขาได้กลายเป็นตัวตั้งตัวตีในการทำให้กัญชาเป็นสิ่งชั่วร้ายด้วยการผูกโยงอาชญากรรมเข้ากับชนกลุ่มน้อย รวมไปถึงมีการสร้างหนังโฆษณาชวนเชื่ออย่าง “Reefer Madness” สร้างข่าวคลุ้มคลั่งจากกัญชารายวันและออกรายชื่อเฝ้าจับตานักดนตรีแจ๊สและสวิงอีกด้วย

เขาเกลียดดนตรีแจ๊ส (เนื่องจากขัดกับหลักศาสนาคริสต์) และเสียงเพลงล่อลวงจากปีศาจที่นำพาให้ผู้หญิงผิวขาวไปเต้นรำและร่วมรักผ่านเสียงเพลงที่น่ารังเกียจของชาวแอฟริกันชั้นต่ำ

เป็นการตัดสินใจครั้งใหญ่ของรัฐบาลที่จะควบคุมเหล่าชนกลุ่มน้อยให้อยู่มือและหยุดยั้งไม่ให้กัญชาเข้ามาสู่สังคมคนผิวขาว แต่หารู้ไม่ว่าบุหรี่กัญชาอันจิ๋วได้ถูกพกติดตัวนักดนตรีแจ๊สและผู้รักเสียงเพลงสวิงไปทั่วอเมริกาเสียแล้ว

กลุ่มนักดนตรีแจ๊สจาก New Orleans ก็ยังมีโอกาสได้ย้ายถิ่นกระจายบีทแจ๊สอยู่เรื่อย ๆ การเดินทางของนักดนตรีผิวดำได้เริ่มกระจายตัวไปทั่วประเทศอเมริกาตลอดช่วงทศวรรษ 1940-1950 

โดยจะมีความคึกคักเป็นพิเศษโดยเฉพาะใน New York ย่าน Harlem

Muggle King และเหล่ากวี Beatniks

กลุ่มนักดนตรีผิวดำรวมตัวบรรเลงเสียงเพลงในอพาร์ตเมนต์ห้องเช่าหรือห้องโถงใต้ดินในย่าน Harlem ทุกค่ำคืนของวันเสาร์ 

เสียงดนตรีที่ได้ดึงดูดกลุ่มนักเรียนผิวขาวชนชั้นสูงและคนดำให้มาร่วมเต้นรำและสังสรรค์ พูดคุยเปิดประเด็นถึงการเมือง ระบบทุกนิยม รักร่วมเพศ และสังคมปิตาธิปไตย

ปรากฏการณ์นี้เรียกกลุ่มวัยรุ่นเหล่านั้นว่า Beatniks หรือ Beat Generations กลุ่มหนุ่มสาวนักเขียนและนักกวีที่สนใจในเรื่องโลก ความรักและเพศอย่างเปิดเผย งานวรรณกรรมของพวกเขาแหกและฉีกขนบธรรมเนียมด้วยการเปิดเผยความรู้สึกและเลือกใช้ศัพท์ภาษาที่อาจหยาบโลนและหยาบคาย

เหล่านักเขียนนักกวีก็เริ่มนำศัพท์สแลงกัญชาอย่าง Tea, Muta, Roach, Jive, Weed, Reefer, Gage เหล่านี้มาเขียนใส่ในวรรณกรรมหนังสือ “On the Road” (1957) โดย Jack Kerouac ที่เป็นดั่งคำภีร์ไบเบิลของชาว Beatniks

กบฎชาวบีทนั้นเป็นสะพานเชื่อมวัฒนธรรมคนขาวกับคนดำเข้าด้วยกัน ผ่านความชื่นชอบในเสียงดนตรีที่ต้องดีดนิ้วกระดิกเท้าตาม ความเร่าร้อนของการเต้นรำ และการส่งผ่าน Joint กัญชาพัลวัน

ในตอนนั้น Mezz Mezzrow คนยิวผิวขาวจาก Chicago ได้เดินทางมาเล่นคลาริเน็ตในย่าน Harlem เขาไม่ได้ถูกจดจำในนามศิลปินแจ๊สผู้เก่งกาจ แต่กลับเป็นเพราะชื่อเสียงในการขายกัญชาที่คุณภาพดีที่สุดในเวลานั้น (ว่ากันว่าเพราะเขามีคอนเนคชั่นร่วมกับนักปลูกชาวเม็กซิกัน)

Photo credit: Harlem World Magazine 

เขากลายเป็นผู้ค้ารายใหญ่ให้กับนักดนตรีทั่ว New York และไม่ลืมที่จะเรียกมันว่า Mighty Mezz เพื่อให้ทุกคนได้รู้ถึงชื่อเสียงของมัน และแน่นอนว่ากัญชาของ Mezz นั้นดีมากจนเพลงแจ๊สเริ่มร้องถึงชื่อของเขาแทนสแลงกัญชาเกรดสูงเลยทีเดียว

Mezz Marrow มีอิทธิพลต่อกลุ่ม Beatniks มากเพราะเขาถือว่าตัวเองเป็นคนผิวดำผ่านเสียงดนตรีและสามารถสอนให้กลุ่มคนขาวเข้าใจถึงความฉับไวของแจ๊สและจังหวะชีวิต เข้าใจว่าการ hip มันเป็นยังไง และไม่ลืมว่าทุกครั้งที่เมากัญชาก็คอยตั้งคำถามถึงชีวิตอยู่เสมอ

ไม่นานหลังจากนั้นกัญชาก็ได้ค่อยๆ ขยับเข้าสู่กลุ่มคนขาวพร้อมกับอิทธิพลของความคิดอย่างอิสระของ Beatniks ที่กล้าตั้งคำถามกับรัฐบาล และกล้าที่จะฉีกกรอบการแบ่งแยกสีผิวและเพศ ซึ่งได้ส่งผลต่อความเคลื่อนไหวของกลุ่มฮิปปี้ต่อมา

การกระจายตัวครั้งนี้ได้ส่งผลให้กัญชากลายเป็นสัญลักษณ์แห่งการต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพอย่างเต็มตัวในทศวรรษ 1960 วัฒนธรรมฮิปปี้ได้ทำให้กัญชาเป็นที่ยอมรับในสังคมมากขึ้น คนขาวรุ่นใหม่หลายคนเริ่มสูบกัญชา นักดนตรีผิวขาวเริ่มร่ำร้องถึงความเคลิ้มเมาของมัน รวมไปถึงการส่งเสียงเรียกร้องหาสิทธิของการเลือกใช้กัญชาอย่างถูกกฎหมายก็เข้าสู่เวทีระดับประเทศนำโดย Allen Ginsberg นักกวีและผู้เรียกร้องเสรีกัญชาแรกที่สร้างกระแส Legalization และผลักดันร่างกฎหมายเข้าสู่สภา

Photo credit: Freedom Leaf

ดนตรีแจ๊สคงเป็นจุดเริ่มต้นของการ ‘ส่งผ่าน Joint’ จากวัฒนธรรมหนึ่งสู่อีกวัฒนธรรมหนึ่งในโลกใต้ดินกับช่วงเวลาเกือบศตวรรษ รวมไปถึงดนตรีแนวเร้กเก้และฮิปฮอปที่มีส่วนในการคงความนิยมกัญชาในกระแสเพลงร่วมสมัย

และคงปฎิเสธไม่ได้ว่าการสูบกัญชานั้นมีส่วนทำให้จิตใต้สำนึกคิดเปิดกว้างมากขึ้น มีโอกาสเพิ่มในการมองเห็นสิ่งและได้ยินเสียงต่างๆ แต่อย่าลืมว่ามันก็อยู่บนพื้นฐานความรู้และความสามารถของเราเช่นเดียวกัน 

เปิดประสบการณ์ High ในสไตล์ฮอลลีวูด

ในเวลานี้กัญชาได้กลับไปเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของใครหลายๆ โดยไม่ต้องกลัวการจับกุมอีกต่อไป รวมถึงผู้ป่วยที่ได้รับเสรีภาพมากขึ้นในการเลือกใช้ยาทั่วโลก แต่อย่าลืมว่าในอดีตกัญชากลับถูกใช้เป็นอาวุธในการจับกุมชนกลุ่มน้อยที่ยังคงสร้างผลกระทบถึงอัตราการจับกุมในปัจจุบันทั่วโลก ทั้งที่ประโยชน์ของมันก็เห็นได้ชัดกับบทวิจัยและการค้นพบใหม่ๆ 

หากมองถึงเสรีกัญชาที่จะเกิดขึ้นในไทยได้ก็คงขึ้นอยู่กับเราทุกคนที่จะต้องช่วยรับ Joint และส่งต่อมันไปอีกรุ่นหนึ่งไม่ว่าจะผ่านเสียงดนตรี ศิลปะหรือตัวอักษร 

ถ้ากัญชาที่สามารถสร้างความสุขหลังทำงานและทำให้การใช้ชีวิตง่ายขึ้น ก็อย่ากลัวที่จะออกมาเรียกร้องสิทธิในการใช้ของเรา เพราะสุดท้ายแล้วบางทีชีวิตคนเราอาจจะต้องการแค่เพลงแจ๊สดีๆ กับ Reefer สักตัวแค่นั้นเอง...

อ้างอิง:

  • Marijuana and Music: A Speculative Exploration by Peter Webster (2001)
  • Reefer Madness: The History of Marijuana in America by Larry "Ratso" Sloman (1979)
  • Really the Blues by Bernard Wolfe (1946)

“Cannabis helped the Jazz Age flourish, serving as a conduit for creativity, music production and performance,” says author Natalie Oganesyan in her piece “To Be Blunt: Cannabis is an integral part of jazz history in America.” “The 1920-30s saw the beginnings of cannabis slang and cultural development, specifically in Black communities… Musicians would light up on tea, reefer, grass — codes for cannabis, since the drug was vilified nationally and on the cusp of criminalization — singing tributes to the substance.”

Deeply linked to the sound of jazz in the 1920s, the history of cannabis exists alongside larger social issues such as racism, slavery, colonization, and criminalization. How did it all begin in earnest? Let’s go back in time to find out!

Red light district, brothels and black music

In the early 1920s, there was an infamous red-light district in New Orleans called Storyville. Known for its brothers, taverns, and multiracial gangs, it  became a hangout spot for sailors as well as the birthplace of jazz. Under segregation, life was miserable for most African/Black immigrants. However, it was in Storyville that black musicians were allowed to play inside brothels and taverns.

  

Photo credit: 64 Parishes

Inside of these bars, one can hear rousing melodies wafting through thick smoke. The rhythms of piano, trumpet, bass, and drums collide, creating the sound we know today as “jazz.” And that thick smoke – well, it’s not exactly a secret that jazz musicians during this era almost universally enjoyed cannabis.
————————————————————————

As the Prohibition Era loomed, people began to look for new meeting places. Speakeasies and tea pads (marijuana bar) started springing up around town. Moonshine was casually, albeit discreetly brewed in someone’s backyards. Jazz music gradually entered the airwaves and spread to big cities like Chicago and New York City.

————————————————————————

Marijuana and jazz improvisation

“Known for its time-slowing effects, cannabis changed jazz musicians’ perception of their own performances, lowering their inhibitions and allowing them to experiment creatively,” explains Natalie in her piece. “Jazz, then, quickly became the hallmark of infectious, dance-inducing and joy-filling music.” 


When time slows down, everything in the surroundings becomes more focused – whether it's sound, color or flavor. Marijuana became a secret power that helped musicians play through the night without fatigue or a hangover.

Photo credit: The Mit Press Reader

Cannabis was widely used among Mexican and African immigrants to wind down after a long hard day of physical labor. The majority of which worked in cotton fields and mines.

Because marijuana was cheap and alcohol was diffcult to come by due to the prohibition law, a large number of jazz musicians chose to smoke marijuana instead of drinking.

————————————————————————

King of the Vipers

Jazz players who used cannabis were called “vipers” and Louis Armstrong, one of the greats, was a true viper himself. As a young trumpeter, he first tried “the gage” (one of the many name street names for cannabis at the time) during a performance to calm down his performance anxiety.

An avid ‘the gage’ smoker, he would always smoke one before his show or while recording. The habit eventually earned him the moniker ‘King of Vipers.’

 

Armstrong loved marijuana so much that he named one of his recordings “Muggles” (nothing to do with Harry Potter) which is a slang term for the plant amongs jazz musicians of the 1920s and 1930s.

In 1934, he went to Paris to record a live session, but the set ended with a new tune called “Song of the Vipers,” which was intended as his ode to his fellow marijuana smokers. However, due to its controversial theme, it was banned in the United States.

————————————————————————

Cab Calloway, another jazz great, was also very open with his marijuana use. He even sings about “Reefer Man,” which describes the odd behavior and ravings of the titular heavy marijuana smoker in 1933’s comedy film “International House.”

Marijuana had inspired many artists in the 40s and 50s. Released by Stash Records, “Reefer Songs” is a collection of 16 jazz songs dedicated to the plant ranging from Stuff & His Onyx Club Boys’ “If You’re a Viper”, Trixie Smith’s “Jack I’m Mellow,” and Andy Kirk’s “All the Jive is Gone.”

————————————————————————

Dancing with the Devil: the Racist Roots of the War on Drugs
Of course, not everybody was on board. Through the eyes of conservatives and politicians, jazz was considered the “devil’s music” because it was largely played by African Americans. A man named Harry Anslinger was the first commissioner of the Federal Bureau of Narcotics who laid the ground work for the modern-day DEA, essentially kick-starting what we came to know as “the war on drugs. According to him, African Americans and other minorities under the influence of marijuana were a danger to the white race — women, especially.

Photo credit: Esquire

“Their Satanic music, Jazz and Swing result from marijuana use. This marijuana causes white women to seek sexual relations with Negroes, entertainers and any others.” - Harry Anslinger

 
Marijuana became illegal in 1937 pursuant to the Marijuana Tax Act.39. The statute effectively criminalized marijuana, restricting possession of the drug to individuals who paid an excise tax for certain authorized medical and industrial uses. Listing cannabis among the world’s deadliest drugs ignores decades of scientific and medical data as well as eliminate all the potential study and research on the plant in the future. 

 

“Reefer makes darkies think they're as good as white men”

Harry Anslinger

 

To make matters worse, the anti-marijuana propaganda film “Reefer Madness” released in 1936 helped fuel hysteria about the drug. Even though Anslinger’s grievances with jazz clearly intersected with his job as the nation’s chief drug officer, the jazz fever had already spread throughout the nation.

————————————————————————

Jazz groups from New Orleans continued to spread the gospel of jazz all across America throughout the 1940s and 1950s. The scene was especially thriving in Harlem, New York. 

————————————————————————

Muggle King and Beatniks
Every Saturday night in Harlem, black musicians would gather in apartments, motels, and basement halls to perform. The scene eventually attracted a group of white intellectuals or “beat poets.” The Beats (Beatniks or Beat Generations) were the first generation of writers for whom cannabis was central. They were known to use it for conversation and creation to achieve more spiritual enlightenment and higher thought – all the while exploring controversial themes like spirituality, drugs, and sexuality, using vulgar language. 

  

Cannabis slang such as “tea,” “muta,” “roach,” “jive,” “weed,” “reefer,” and “gage” are commonly found in Beats literature. Jack Kerouac’s seminal work “On the Road” is also considered the bible among beatniks.

 

Born in Chicago, jazz clarinetist Mezz Mezzrow became known not for his musicianship, rather for his knack for supplying high-quality marijuana to Harlem. At the time, he was the biggest supplier of weed to musicians in New York so much so that his product came to be known as “Mighty Mezz.”



Photo credit: Harlem World Magazine 

 
Like Mezz Marrow, beatniks had a significant influence on American culture and society. They inspired people to challenge the norms, values, and many social movements and subcultures that followed them including the hippies, the counterculture, the civil rights movement, the feminist movement, and the LGBT movement.

Cannabis became the symbol for freedom fighters in the 60s. As hippie culture spread, weed became more accepted among white people. The earliest marijuana legalization advocacy organization was started by beat poet Allen Ginsberg.

Photo credit: Freedom Leaf

————————————————————————

From jazz and reggae to today’s hip-hop, cannabis culture has been an  influential factor in music scene. It’s also adopted by Hollywood A-listers.

Today, at least in some parts of the US, cannabis culture has become part of many people’s lifestyle. Legalizaiton allows patients to benefit from the plant  and researchers to continue their work.

If you’re one of those who use or benefit from cannabis in your every life, don’t be afraid to come out and defend your right to use the plant. At the end of the day, we just want to listen to a good jazz record and blitz it up.

Sources:

. Marijuana and Music: A Speculative Exploration by Peter Webster (2001)

. To Be Blunt: Cannabis is an integral part of jazz history in America by Natalie Oganesyan

. Reefer Madness: The History of Marijuana in America by Larry "Ratso" Sloman (1979)

. Really the Blues by Bernard Wolfe (1946)