HighEQ

เกาะพะงัน กัญชา ความฝันอันยิ่งใหญ่ของสายเขียว ต่อการเยียวยาทั้งเศรษฐกิจและโรคภัย

Meet Luang, the Man Behind Koh Phangan’s Grassroot Campaign Pushing for Recreational Weed

ก่อนหน้านี้ทาง EQ ได้เคยรายงานถึงความเคลื่อนไหวของกลุ่มคนรุ่นใหม่บนเกาะพะงันในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจตกต่ำ พยายามพลิกฟื้นคืนชีวิตให้แก่ธุรกิจต่างๆ ที่กำลังหายใจอย่างรวยรินแทบจะล้มหายตายไปจากเกาะ โดยเฉพาะหาดริ้น สถานที่จัดฟูลมูนปาร์ตี้ที่เคยเป็นดั่งเส้นเลือดใหญ่ลำเลียงและกระจายเม็ดเงินจากนักท่องเที่ยวให้ไหลสะพัดไปทั่วเกาะ ผู้ประกอบกิจการที่เหลืออยู่แต่ละรายต่างก็ใช้ความพยายามในแบบของตนเอง ปรับกลยุทธ์ ดึงให้นักท่องเที่ยวกลับเข้ามา ไม่ว่าจะเป็นการแสวงหากลุ่มเป้าหมายกลุ่มใหม่เพื่อนำเสนอการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน โดยนำเสนอการสร้างจิตสำนึกและให้ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น อนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือจัดกิจกรรมแนวเอ้าท์ดอร์เพื่อเอาใจนักท่องเที่ยวที่มากันทั้งครอบครัว รวมทั้งความพยายามที่จะดึงกลุ่มนักท่องเที่ยวขาประจำจากฟูลมูนปาร์ตี้ในบรรยากาศก่อนโควิด

(คุณหลวง)

แต่ในเดือนที่เวลาจะหยุดอยู่ที่ 4:20 สำหรับสายเขียวทั่วโลกนั้น เราจะพาคุณไปพบกับบุคคลสำคัญคนหนึ่งที่เป็นดั่งหัวหอกในการทำให้กัญชาได้รับการยอมรับในฐานะพืชสมุนไพรที่ใช้เพื่อการรักษาโรค วันนี้เขาก็ได้ขยับเจตนารมณ์ขึ้นไปอีกขั้นกับการนำร่องกัญชาเพื่อการสันทนาการ ส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยใช้เกาะพะงันเป็นหนึ่งในโมเดลของประเทศ 

นับว่าเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นสุดๆ เพราะนี่จะเป็นการพลิกโฉมเศรษฐกิจไทย โดยใช้กัญชาเป็นตัวเปิดเกมใหม่ และเจ้าของอุดมการณ์อันดุเดือดเลือดพล่านนี้คือ คุณสนธยา แซ่โย้ หรือ “พี่หลวง” ของน้องๆ สายเขียวชาวเกาะพะงัน อดีตเจ้าอาวาสวัดโฉลกหลำ ผู้เคยแอนตี้กัญชาขั้นสุดด้วยความที่เข้าใจว่าเป็นยาเสพติดให้โทษเพียงอย่างเดียว แต่ ณ ปัจจุบันเป็นหมอยา ทำน้ำมันกัญชาแจกฟรีแก่ผู้ป่วยที่เป็นโรครักษาไม่หายหรือขาดแคลนทุนทรัพย์ในการรักษา โดยมีโครงการชื่อ ‘กองทุนแบ่งปันเพื่อผู้ป่วยรักษาฟรี เกาะพะงัน’ มีจุดประสงค์เพื่อการแบ่งปันน้ำใจให้กันและกัน 

พี่หลวงเปิดเผยว่า “ก๋งผมคือเคดี เคที หรือโกดำ เขาอยู่ในแวดวงกัญชามานาน ปัจจุบันเป็นหมอยาให้ความรู้ผู้ป่วย ผมเคยโทรหาแกเพราะอยากไปเที่ยวเกาะเต่าแต่ไม่ได้ไปสักทีเพราะติดภารกิจหลายอย่าง แล้วเวลาว่างก็ไม่ตรงกับเพื่อนๆ แกโทรมาครั้งที่ 4 จนผมเกรงใจในฐานะผู้น้อย เลยชักชวนเพื่อนสนิทคือคุณเขียวจาก Rasta Home และคุณโต้งจาก 360 องศาไปด้วยกัน พอผมได้ไปเที่ยวหาโกดำที่เกาะเต่า พบผู้ป่วยรายแรกของแกเข้า ผมเปลี่ยนความคิดไปเลย

(คุณโกดำ/ก๋ง)

แกมาคอยอยู่หน้าบ้านโดยมีถุงใส่ปัสสาวะห้อยออกมาในขณะที่โกดำกำลังสอนอยู่ในห้อง ตัวแกเป็นคนเก็บขยะขายที่เกาะเต่า เมียแกเป็นมะเร็งตายไปเมื่อปีกลาย ตัวแกเองก็เป็นมะเร็ง น่ากลัวจะเป็นเพราะสารเคมีที่อยู่ในขยะนั่นแหละ แกเดินทางมาขอน้ำมันกัญชาเพื่อไปรักษาตัว แต่ไม่กล้าเข้าไปในบ้าน อาจจะเป็นเพราะอาย วันนั้นก๋งผมให้น้ำมันกัญชาแกไปสองขวด มันทำให้ผมตื้นตันขึ้นมา ลองคิดดูว่าค่ารักษามะเร็งเป็นแสนๆ คนจนที่ไหนจะมีปัญญาเอาเงินไปรักษา นี่จึงเป็นความหวังเดียวของพวกเขาที่มี ผมนับว่าตัวเองเป็นคนโชคดีที่สามารถเปลี่ยนมุมมองความคิดได้อย่างรวดเร็วหากมีเหตุการณ์ที่ชัดเจนแบบนี้เกิดขึ้น มันทำให้ผมหยุดคิด และมองเห็นตัวเองว่าเรากำลังมองกัญชาเพียงด้านเดียวอยู่นะ คุณลุงคนนั้นเปิดโลกอีกด้านของมันให้เห็น และมันก็ได้เปลี่ยนความคิดของผมไปตลอดกาล”

(คุณโต้ง - คุณหลวง - คุณโกดำ - คุณเขียว)

“หลังจากที่กลับมาพะงัน พวกผมทั้งสามคนก็มานั่งหารือกันว่าเราอยากจะจัดงาน ๗ กัญ.ยา.ยัน ขึ้นที่เกาะพะงัน และนั่นคือจุดเริ่มต้นของที่มาของโครงการกองทุนแบ่งปันเพื่อผู้ป่วยรักษาฟรี เริ่มมาจากจุดที่เราคุยกันตรงนี้เลยครับ ชาวสวนคาเฟ่ เมื่อปี 2562 นี้เอง โดยผมและผองเพื่อนชาวพะงันทำหน้าที่บุกเบิกริเริ่ม”

นับว่าเป็นเวลาที่รวดเร็วมาก เพราะเท่าที่รู้คือ พี่หลวงมีคนไข้ที่เข้ามารับการรักษาเป็นหลักหมื่นแล้วจากวันนั้นถึงวันนี้ นอกเหนือไปจากการปรุงยาและวินิจฉัยโรคและให้การรักษาเพียงเท่านั้น พี่หลวงยังมีหน้าที่ในฐานะผู้ให้คำแนะนำ

“ทุกวันจะมีผู้ป่วยโทรมาระบายเล่าอาการป่วยหรือปัญหาที่บ้านให้ฟัง หรือวันนี้ไปโรงพยาบาลหมอให้ยาอะไร คือเราคอยให้กำลังใจเขาไง ผู้ป่วยหลายคนเขาโดดเดี่ยวมากนะ โดยเฉพาะผู้ป่วยมะเร็ง เขาคิดแค่อย่างเดียวว่าความตายกำลังเดินทางมาถึงเขา เราอยู่ตรงนี้ เป็นกำลังใจ ปันน้ำใจให้เขา นั่นคือที่มาของโครงการแบ่งปันเพื่อผู้ป่วยรักษาฟรี จะเป็นอะไรก็ได้ที่คุณมี ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันมะพร้าว เงินช่วยค่าขนส่ง เพื่อต่อยอดเป็นกองทุนไว้ให้ผู้ป่วยรายอื่นๆ ที่เขาไม่มี”

“ผมใช้บริการขนส่งของ Flash Express อยู่ปีกว่าๆ ก็มีเจ้าหน้าที่เข้าไปดูในเพจเรา มาสอบถามว่าเราคิดค่าใช้จ่ายคนไข้ยังไง พอผมอธิบายไปว่าไม่มีค่าใช้จ่ายสำหรับพวกเขา แม้แต่ค่าขนส่งผมก็จ่ายเอง พอฟังแล้วเขาเกิดความรู้สึกเห็นใจและอยากช่วยลดภาระให้เรา ปกติแล้วค่าส่งชิ้นนึงมันราคา 25 บาท แต่เขาให้ผมจ่ายเพียง 12 บาทเท่านั้น ซึ่งมันลดภาระผมไปได้เยอะเลย นี่แหละคือปณิธานของโครงการของผม เราทำให้การทำดีมันเป็นเรื่องปกติ คติของผมที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงคือเมตตาธรรมค้ำจุนโลก”

เราสงสัยว่าในระยะเวลาไม่ถึง 3 ปีที่ผ่านมา พี่หลวงเอาเวลาจากที่ไหนมาศึกษาตำรับตำราปรุงยาจนสามารถรักษาผู้คนได้มากมายขนาดนี้ ไม่เสียแรงที่เคยเป็นถึงเจ้าอาวาสมาก่อน พี่หลวงตอบกลับมาว่า “ที่ได้เรียนจริงๆ มีวันเดียวคือตอนที่โกดำบรรยายในงาน ๗ กัญ.ยา.ยัน แม้จะต้องวิ่งวุ่นทำงานไปด้วยแต่ก็พยายามตั้งใจฟังอย่างมากและจำได้ทุกอย่างที่แกบรรยาย หลังจากนั้นก็อาศัยวิธีครูพักลักจำและทดลองกับตัวเอง โดยการลองสูบมันเข้าไปทีละนิดแล้วหลับตา ค่อยๆ เข้าสู่การหยั่งรู้ภายในดูว่าสมุนไพรแต่ละสายพันธุ์เขามีฤทธิ์ในการรักษาแตกต่างกันอย่างไร โดยการสำรวจประสาทและอวัยวะแต่ละส่วนของเราว่ามีปฏิกิริยาอย่างไรบ้าง แล้วผมก็จดบันทึกมันไว้ เวลารักษาผู้ป่วยผมก็จะใช้ข้อมูลนี้แหละมารักษา และมีรายละเอียดการให้ยาผู้ป่วย ปริมาณการใช้ยา ข้อบ่งใช้ในผู้ป่วยแต่ละครั้งเสมอ แม้แต่อาหารการกินก็ต้องบันทึกไว้ เพราะเราไม่ได้ใช้วิธีเปิดตำรา แต่ใช้จากคนจริงๆ เลย โรคที่คนกลัวกันนักหนาอย่างมะเร็งนี่สำหรับผมถือเป็นของง่ายเลย ผมรักษาหายราว 80% สำหรับพวกที่ไม่หายคือมาแบบอวัยวะภายในเสียแทบหมดแล้ว หรือไม่ก็ไม่ยอมทำตามคำแนะนำ”

“ผมเริ่มรักษาแต่ยังไม่ได้ทำยาเอง ก็ยังลองผิดลองถูกอยู่เยอะครับช่วงแรก ใครไม่หายเราก็ต้องมาประมวลกันใหม่อีกว่าเพราะอะไร ก็ค่อยๆ เรียนรู้ไปจนเริ่มมาทำยาเอง ผมเริ่มค้นพบว่าการตุ๋นยามันไม่ต่างกับการทำต้มจับฉ่าย ยิ่งเคี่ยวนานมันยิ่งอร่อย แทนที่ผมจะตุ๋นทีละครั้งเหมือนหมอยาท่านอื่น ผมเปลี่ยนมาใช้หม้อไอน้ำควบแน่นแล้วคอยเติมตัวยาไปเรื่อยๆ นอกจากจะได้ตัวยาที่เข้มข้นแล้ว ยังทำให้ผมให้บริการคนไข้ในจำนวนมากๆ ได้ ซึ่งหม้อนี้ผมเติมมาสองปีแล้ว มันมีส่วนสำคัญมากในการช่วยให้ผู้คนมากมายหายจากโรคที่รักษาไม่หายและสร้างความทุกข์ทรมานให้แก่ผู้ป่วย อย่างเช่นโรคสะเก็ดเงิน เป็นเคสที่ผมได้มีโอกาสรักษาจนหายเยอะมาก พวกโรคที่มีสาเหตุเกิดมาจากเลือดเป็นพิษนี่ ผมถนัดเลย”

ก็ไม่แน่ชัดว่าทำไมที่เกาะพะงัน จะมีกลุ่มของคนที่เรียกตัวเองว่า หมอผี นักปรุงยา หรือที่เรียกกันว่า Shaman เดินทางมาพำนักอยู่ที่นี่ หลังจากที่ผู้เขียนได้สัมผัสหมอผีที่เดินทางมาจากหลากหลายประเทศทั่วโลกไม่ว่าจะด้วยเพราะสาเหตุอะไร วันนี้ฉันได้รู้แล้วว่าชาแมนตัวจริงของเกาะพะงัน คือพี่หลวง อดีตเจ้าอาวาสวัดโฉลกหลำนี่เอง แต่พี่หลวงก็ทำเงียบๆ ของแกเป็นปกติโดยไม่เคยป่าวประกาศโฆษณาตัวเอง

“ผมทำมันไปโดยที่ไม่ได้รู้ตัวว่ามีคนให้ความสนใจเราอยู่นะ แม้แต่นักวิชาการระดับอาจารย์มหาวิทยาลัยยังติดต่อมาขอข้อมูลเพื่อทำวิจัย พอผมถามว่าไปได้เบอร์ผมมาจากไหน แกบอกว่าไปได้เบอร์มาจาก ป.ป.ส. ผมนี่อึ้งเลย เพิ่งรู้ตัวว่าเป็นคนดังระดับมีชื่อบนบอร์ด ป.ป.ส. ก็วันนั้นเอง” พี่หลวงพูดจบก็ทำเอาทุกคนที่อยู่ตรงนั้นฮากันครืน

แล้วความมุ่งมั่นนี้มันจะมีที่ไปต่ออย่างไรนะ เราสงสัย จึงถามพี่หลวงถึงอนาคตของวงการกัญชาที่เกาะพะงันว่ามันจะออกมาในรูปแบบไหน คำตอบของพี่หลวงทั้งน่าทึ่งและน่าตื่นเต้นเอามากๆ 

“ตอนนี้เรากำลังเริ่มเขยิบไปที่การทำให้เกาะพะงันเป็นหนึ่งในศูนย์กลางของภาคใต้ นำร่องกัญชาเพื่อสันทนาการ โดยทางฝั่งอันดามันจังหวัดกระบี่รับหน้าที่นี้ ส่วนทางอ่าวไทยก็จะเป็นเกาะพะงัน ซึ่งถ้าพูดถึงความพร้อมก็บอกได้เลยว่าเรามีเครือข่ายเคดีที่เป็นปึกแผ่นมากทั้งในภาคใต้และทั่วประเทศ รวมทั้งชื่อเสียงของฟูลมูนปาร์ตี้ที่คนทั่วโลกต่างก็รู้จักกันดีอยู่แล้ว จากที่เมื่อก่อนนักท่องเที่ยวเดินทางมาเกาะพะงันจะใช้เวลาเพียงคืนสองคืนเพื่อมาปาร์ตี้ แล้วก็นั่งเรือกลับ ความคิดของผมคือหลังคืนฟูลมูนปาร์ตี้อยากให้มีกิจกรรมต่อเนื่องเพื่อให้นักท่องเที่ยวอยู่ต่อ โดยอาจจะเว้นระยะเวลาให้เขาได้พักฟื้นสัก 2-3 วันค่อยจัดงานกัญชาขึ้นมา ซึ่งแน่นอนว่าภายในงานเราจะอนุญาตให้สูบกันได้อย่างเสรี รวมถึงมีกิจกรรมที่ให้ทั้งความรู้และความบันเทิงเต็มรูปแบบ นี่แหละที่ผมเชื่อว่า กัญชาไม่ได้มีฤทธิ์เพียงรักษาโรค แต่ยังสามารถนำมาใช้เป็นพืชเศรษฐกิจที่ช่วยพลิกฟื้นความวิกฤตที่กำลังเกิด ณ ตอนนี้ได้”

“หากเพียงรัฐบาลคิดได้โดยจดทะเบียนให้กัญชาเป็นพืชเศรษฐกิจและสนับสนุนให้ปลูกกันทุกบ้าน เพราะเรามีภูมิประเทศที่เหมาะสมอยู่แล้ว เนื่องจากเรามีแดด ในขณะที่คนอื่นยังต้องซื้อแดดใช้อยู่เลย คุณคิดว่าต้นทุนที่แตกต่างขนาดนี้มันทำให้เราได้เปรียบขนาดไหน เพราะในเมื่อต้นทุนเราถูก เราก็ขายถูกกว่าคนอื่นได้ ถ้าทุกบ้านปลูกเองใช้เอง ที่เหลือส่งออก สนับสนุนให้กัญชาไทยโด่งดังไปทั่วโลก นี่แหละจะเป็นวิธีที่ทำให้เศรษฐกิจบ้านเรามันได้รับการเยียวยาอย่างมีประสิทธิภาพในระยะเวลาที่สั้นมาก”

พี่หลวงยังเล่าไปถึงความสำเร็จอีกหนึ่งเรื่องของชุมชนในการผลักดันให้ใช้กัญชาเป็นยารักษาโรคอย่างจริงจังในโรงพยาบาล โดยเกิดจากการรวมตัวกันของวิสาหกิจชุมชนถึง 5 แห่งที่ก่อเกิดเป็นเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรไทยเกาะพะงัน ได้ร่วมกันสร้างโรงเรือนปลูกกัญชาอยู่ด้านหลังโรงพยาบาลเกาะพะงันซึ่งปัจจุบันสำเร็จเรียบร้อยแล้ว และตอนนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนเตรียมลงมือปลูก อีกไม่นานเราจะได้เห็นกัญชาเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการแพทย์สมัยใหม่และได้ใช้กับผู้ป่วยจริงๆ ไม่น่าเชื่อว่าเรื่องนี้จะเกิดขึ้นในยุคของเรานี่แหละ

ฟังพี่หลวงพูดแล้วรู้สึกเกิดกำลังใจมากๆ ขึ้นมาทันที ใครจะไปคิดว่าแต่ละเรื่องที่พี่หลวงและพรรคพวกมุ่งมั่นทำจะเป็นจริงขึ้นมาได้ ซึ่งยิ่งทำให้อยากเห็นโครงการนำร่องกัญชาเพื่อสันทนาการเกิดขึ้นให้ได้ เพราะพี่หลวงบอกว่าหากเริ่มต้นตรงนี้สำเร็จ มันจะถูกใช้เป็นต้นแบบทั่วประเทศเลยนะ ลองคิดภาพดูสิว่ามันจะพลิกโฉมหน้าเศรษฐกิจไทยขนาดไหน และหากใครอยากเป็นกำลังใจให้พี่หลวง สามารถเข้าไปติดตามข่าวคราวความเคลื่อนไหวของพี่เขาได้ทั้งในเพจ

The last time we swung by Koh Phangan, we got to make acquaintance with a group of young people who came together to make a last-ditch effort to save the island from the economic fallout following the pandemic. While some business owners on Had Rin, home to the world-famous full-moon parties, adopted all sorts of strategies to lure tourists back to the fold, others turned to sustainable tourism instead, focusing on what the island has to offer in terms of nature, culture, and environment.

Sontaya “Luang” Saeyo


For this visit, we will be hanging out with Sontaya Saeyo, more commonly known as P’ Luang, Koh Phangan’s key figure leading the push for the medical and recreational cannabis movement. How did a former anti-weed abbot become its proponent and even end up making cannabis oil for the underprivileged as part of the Koh Phangan Free Treatment Fund campaign?

“My grandpa KD or Koh Dum has been involved with cannabis for a really long time. When I went to visit him on Koh Tao with my friends Tong and Khiew, and met with one of his patients, my perspective shifted.”

Koh Dum

“I saw this patient with a urine drainage bag waiting outside of Koh Dum’s classroom. I later found out that he works as a waste collector on the island. His wife died of cancer last year [2021] and he himself also has cancer – I’m guessing because he’s been exposed to all the toxins from the trash. When Koh Dum finished his class, he gave him 2 bottles of cannabis oil for free. Cancer treatments cost a lot of money and Koh Dum was the only hope this patient had. Having witnessed that, I was able to change my perspective about the plant and finally see its benefits.”

(Tong, Luang, Koh Dum, Khiew)

“After we got back to Phangan, we decided to host an event called ‘7 Gan Ya Yon,’ which essentially kick-started the Koh Phangan Free Treatment Fund campaign.”

Since its inception in 2019, the campaign has seen over ten thousands patients to date. Apart from preparing medications, giving diagnosis and providing treatments, Luang also moonlights as a councellor.

“Everyday, patients would call me up to tell me about their illnesses or problems they’re having at home. Many of them are cancer patients and they get extremely lonely because they’re fearful of their demise. I’m there to give them moral support and help them with other essentials through this campaign.”

“After a year or so using Flash Express courrier service, one of their employees saw our FB page and asked me how much we charged the patients. I told them that we didn’t and that we paid for everything ourselves. The company was kind enough to reduce the shipping free from 25 baht per item to only 12 baht. It really helped lessen the burden for us. I believe in kindness and my motto has always been ‘compassion makes the world go round.’”

When asked how he managed to learn to prepare medications for the patients in a short span of time, he explains that he learned everything on the day of the 7 Gan Ya Yon event. “Even though I had to run around making sure that the event ran smoothly, I paid close attention to everything Koh Dum said. Based on what I learned from him, I then experimented with different herbs and kept a journal on how each part of the body reacted to certain things. I use this journal as a reference for all my patients. Around 80% of the patients I treated were cured. The rest of them were beyond help as most of their organs were already destroyed. Or they didn’t follow my advice.”

“After some trails and errors, I discovered that making a pot of traditional medicine is similar to making a vegetable soup. I use a pressure cooker to up the potency of the concoction so that I can accommodate the large numer of patients we have. I’m good at treating people who suffer from psoriasis.”

Even though there’s a thriving community of shamans on Koh Phangan, Luang tells us that he never claims himself as such. “I just do what I do,” he says. “But I had professors and researchers contacting me before. When I asked them where they got my number from, they told me that the NCB [The Narcotics Control Board] gave it to them.”

What about the push for medical and recreational cannabis?

“We’re in the process of pushing Koh Phangan to become a model province for recreational cannabis use. We have a strong network of support here in the southern region and we’re more than ready to make it happen. When tourists come to full moon parties, they only spend a night or two here. By organizing a recreational cannabis event, we hope that they will want to stay on the island a little longer. Cannabis is great for medical use, but I believe it’ll also benefit our economy.”

“If only the government realizes that we have the perfect condition for growing cannabis. We also have an endless supply of sunlight so that’s already a huge leg up. Imagine if every household is allowed to grow their own plants and we’re able to export them for really cheap. Our economy will definitely bounce back.”

While recreational cannabis still has a long way to go, the push for its medical use is well on its way to becoming a reality. Through the efforts of Koh Phangan Thai Herbal Community Enterprise Network, a cannabis greenhouse was built behind the local hospital. Planting is expected to begin soon.

If this pilot project becomes a success, it will likely be used as a blueprint for other provinces to follow suit. Those who wish to support Luang’s initiatives campaign can get in touch with him through his Facebook page or KD​ Koh​ Phangan Cannabis & Herbs Club.

Another way to support the movement by purchasing a 1,000-baht share. Any profits from seminars and activities will then be shared among members

As our conversation draws to a close, I find myself completely in awe of Luang’s determination. It takes a special kind of grit and tact to run a such a controversial, not to mention risky campaign. I also would like to thank both Tong from 360 Ongsa shop and Khiew from Rasta Home for working alongside him from the very beginning.

If you find yourself on Koh Phangan and fancy a chat with man himself, make sure to stop by Chao Suan Cafe. I don’t guarantee that you’ll meet him, but at least you’ll get to shop for an incredible selection of teas, cannabis products and spices. While you’re at it, don’t forget to drop by 360 Ongsa and Rasta Home for underground tunes and reggae fun.