HighEQ

Amsterdam Coffeeshops - กัญชาสักมวนกับกาแฟสักแก้ว ที่อัมสเตอร์ดัม

High Times in the Lowlands: Exploring Amsterdam’s Coffeeshop Culture

Photo credit: I am Aileen

เมืองหลวงของประเทศเนเธอร์แลนด์และดินแดนแห่งเสรีภาพกัญชา ‘อัมสเตอร์ดัม’ ได้ปูแนวทางของ consumption lounge หรือพื้นที่สีเขียวที่สามารถไปนั่งสูบกัญชาได้ตั้งแต่ยุค 70’s 

เสรีภาพก่อนควัญกัญชา

ชาวดัตช์ให้ความสำคัญกับสิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคลเป็นอย่างมาก เสียงของประชาชนในเวลานั้นจึงดังกว่ารัฐบาล หากมีการกระทำใดที่ไม่เหมาะสมในสายตาสังคม ก็สามารถทำให้เกิดการประท้วงให้ผู้ว่าลงจากตำแหน่งได้โดยเด็ดขาด

Photo credit: BYCS

ในระหว่างปี ค.ศ. 1964-1966 เป็นช่วงเวลาที่เห็นการเรียกร้องถึงประเด็นอย่างการสิทธิในการใช้จักรยานในเมือง การแบนยาเส้นบุหรี่ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การประนามสื่อที่ออกข่าวบิดเบือน ฯลฯ ที่ส่งผลให้ปัจจุบันอัมสเตอร์ดัมเป็นหนึ่งในเมืองสีเขียว (green city) ที่สุดในยุโรป และเป็นหนึ่งในเมืองที่เป็นมิตรกับ LGBTQ+ ที่สุดในโลก

ถึงแม้ว่ากลุ่มฮิปปี้จะเข้ามาพร้อมกับยาเสพติดอย่าง LSD และแฮช (hash) แต่อัมสเตอร์ดัมกลับพบปัญหาของเฮโรอีนระบาดอย่างหนักในช่วงศตวรรษที่ 60-70’s ทำให้นักศึกษาและเยาวชนหลายคนถูกจับพร้อมมีคดีติดตัว หมดสิทธิในสายอาชีพ ติดยา และเสพยาจนเสียชีวิตเป็นจำนวนไม่น้อยเช่นเดียวกัน ปัญหาในกลุ่มเยาวชนทำให้รัฐบาลดัตช์ลองทางเดินใหม่ในการแก้ปัญหา โดยมีการเปลี่ยนกฎหมาย Opium Act และการเสนอนโยบายยอมรับ รวมถึงยินยอม Gedoogbeleid

Photo credit: Trouw

กลยุทธ์ของชาวดัตช์ในการจัดการปัญหายาเสพติดระบาด คือการปรับเปลี่ยนทัศนคติด้วยแนวคิดแบบ harm reduction (ลดความรุนแรง) ที่พยายามเข้าใจธรรมชาติของผู้ใช้ยาเสพติด มากกว่ามองว่าเป็นปัญหาอาชญากรรมในสังคม

Green Space แห่งแรกของโลก

หลังจากการปรับกฎหมายและเสนอนโยบายใหม่ๆ ทางรัฐบาลดัตช์ก็ได้ประกาศว่ากัญชาไม่ใช่ปัญหา และมุ่งการจับกุมไปหากลุ่มผู้ใช้เฮโรอีนมากกว่า จุดนี้เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้มุมมองสังคมดัตช์ที่มีต่อกัญชาและกลุ่มคนใช้เปลี่ยนไป กัญชาถูกจัดประเภทเข้าเป็นหนึ่งในสารเสพติดไม่ร้ายแรง (soft drug) ไม่ต่างจากกาแฟ บุหรี่ หรือเบียร์

ในช่วงเวลานั้น กลุ่มฮิปปี้ที่มักจะร่วมตัวกันอยู่ตาม youth center ตามวงสนทนาดื่มชาก็มักจะสูบและใช้แฮช (ซึ่งเป็นที่นิยมมากกว่าช่อดอกในยุโรป) ไอเดียของจุดรวมตัวสังสรรค์เวลาสูบกัญชาจึงเกิดเป็น ‘ร้าน coffeeshop แรกในอัมสเตอร์ดัม’

หน้าร้าน Mellow Yellow ค.ศ. 1972 | Photo credit: Andere Tijden

‘Mellow Yellow’ ได้เปิดขึ้นในปี ค.ศ. 1972 โดยนาย ‘เวอร์นาร์ด เบรินนิ่ง’ (Wernard Bruining) ที่มองเห็นช่องทางการเปิดร้านกัญชา พร้อมกับความช่วยเหลือจากเพื่อนๆ เหล่าบุปผาชน เวอร์นาร์ดให้คอนเซ็ปต์ร้านว่าเป็น ‘ร้านน้ำชา’ (tea house) ที่ทุกคนสามารถเข้ามานั่งดื่มชาและสูบแฮชได้ โดยมีการซื้อขายจากพนักงานที่นั่งเนียนๆ อยู่ด้วยกัน การที่ร้านที่ไม่มีบาร์ ไม่มีเมนู และไม่มีเอกสารการค้าใดๆ จึงสามารถเลี่ยงการจับกุมจากตำรวจมาได้หลายปี

Photo credit: Flickr

“เราเป็นแค่กลุ่มวัยรุ่นที่หาทางใช้ชีวิต หากัญชาดูด และเติมเต็มหน้าที่ของการแบ่งปันต่อไป ถ้าพูดถึงร้านที่ตั้งใจอย่างจริงจัง คงจะต้องเป็น Bulldog น่ะ” – Mellow Yellow พูดถึงการเป็นร้าน coffeeshop แห่งแรกของอัมสเตอร์ดัม

แต่น่าเสียดายที่กฎหมายที่ออกมาในปี ค.ศ. 2017 ได้จำกัดระยะบริเวณ 250 เมตรของการเปิดบริการ coffeeshop ใกล้สถาบันศึกษาและโรงเรียน ทำให้ Mellow Yellow ต้องปิดร้านไปอย่างถาวร

Consumption Lounge

Photo credit: Time Out

เหล่าร้าน coffeeshops ในตำนานที่เปิดให้บริการมาตั้งแต่ยุค 70’s ได้ตั้งมาตราฐานและบรรยากาศของร้านกัญชาในเมืองอัมสเตอร์ดัม อีกทั้งเป็นจุดเริ่มต้นของพื้นที่สีเขียวและการแลกเปลี่ยนกัญชาอย่างโปร่งใส

ถึงแม้ว่ากัญชาจะเป็นที่ยอมรับ แต่ก็ยังไม่มีกฎหมายมารองรับอยู่ดี คุณยังสามารถถูกจับในข้อหากัญชาได้หากมีการพกมากกว่า 30 กรัมหรือปลูกมากกว่า 5 ต้น และมีกฎบังคับที่รัฐบาลยื่นให้กับร้านคือ สามารถมีกัญชาในสต็อกได้ 500 กรัมต่อวัน และสามารถขายให้ลูกค้าได้เพียง 5 กรัมต่อคน โดยลูกค้าต้องมีอายุ 18-21 ปีขึ้นไป อีกทั้งเมนูภายในร้านควรมีชื่อสายพันธุ์ น้ำหนัก ราคา ฤทธิ์ ฯลฯ ระบุเอาไว้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ยังห้ามสูบบุหรี่หรือผสมยาเส้นกับกัญชาในร้าน (ผลบังคับจากการเปลี่ยนกฎในปี ค.ศ. 2008) เพราะทุกที่จะมี tobacco substitute ไว้ให้ใช้ผสมแทนยาเส้น

Photo credit: Mistersmoke

ร้านในตำนาน ‘The Bulldog No. 90’ ถือว่าเป็นร้าน coffeeshop ร้านแรกในช่วงปี ค.ศ. 1974-1975 ที่ผู้ก่อตั้ง ‘เฮงก์ เดอ วรีส’ (Henk de Vries) ตั้งใจสร้างร้านที่ผู้คนสามารถเข้ามานั่งสูบกัญชาในบรรยากาศเคล้าเสียงเพลงในพื้นที่สไตล์เลานจ์ พร้อมกับมีเมนูสายพันธุ์กัญชา ชา และกาแฟให้เลือก แถมยังมีโซฟาที่นั่งภายในร้าน 

Holland, Shangri La of Weed

หลังจากปี ค.ศ. 1976 และการเปลี่ยนกฎหมาย Opium Act กัญชากลายเป็นสิ่งที่ถูกยอมรับในสังคมดัตช์ไม่ต่างจากเหล้าแอลกอฮอล์ เมืองอัมสเตอร์ดัมได้กลายเป็นเส้นทางท่องเที่ยวอันดับหนึ่งของสายเขียวนับตั้งแต่ต้นยุค 70’s และมีกัญชาลักลอบส่งมาจากทุกมุมโลก ไม่ว่าจะเป็น hash จากอัฟกานิสถานและโมร็อกโก รวมไปถึงช่อดอกกัญชาแห้งจากแอฟริกาและอินโดนีเซีย นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์รวมสำคัญของการแลกเปลี่ยนข้อมูล เมล็ดพันธุ์ และการพัฒนาสายพันธุ์ โดยเฉพาะนักปลูกชาวอเมริกันและชาวดัตช์

Photo credit: The New York Times

ในช่วงเวลาไล่เลี่ยกันที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ตำรวจกำลังไล่ล่าจับกุมวงการกัญชาอย่างหนัก นักปลูกและ breeder อเมริกันหลายคนหนีความเสี่ยงในการถูกจับ และตัดสินใจย้ายไปอัมสเตอร์ดัมเป็นจำนวนมากเพื่อตามความฝันของตัวเอง ไม่เพียงแค่นั้น ชาวอเมริกันนำความรู้และสายพันธุ์ไฮบริดแบบใหม่ติดมาด้วย ไม่ว่าจะเป็น Skunk#1 และ Original Haze 

แต่ในช่วงแรก สายพันธุ์ใหม่พวกนี้กลับไม่ได้ถูกยอมรับในร้าน coffeeshops มากนัก เพราะตอนนั้นมีแฮชครองตลาดเป็นใหญ่ และช่อดอกที่ทุกคนคุ้นเคยก็มักจะแห้งกรอบ ไม่มีใครให้ความสนใจกับช่อดอกกัญชาที่กลิ่นแรงเหมือนเยี่ยวแมว แต่ไม่นานหลังจากร้านกัญชาได้เข้ายุค 80-90’s ก็เริ่มมีการพัฒนา ผสมสายพันธุ์ และเปลี่ยนแปลงในเรื่องของเมนูสายพันธุ์หลากหลาย คุณภาพช่อดอกและฤทธิ์ความแรงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

ตำนาน Skunk#1

Photo credit: Bloomberg

คุณภาพของกัญชาโลก (โดยเฉพาะการร่วมงานระหว่างนักปลูกชาวอเมริกันและดัตช์) มีความก้าวหน้าอย่างเห็นได้ชัดผ่านการแข่งขันของนิตยสารอเมริกัน ‘High Times’ ภายในงาน ‘High Times Cannabis Cup’ มีการจัดลำดับประเภทสายพันธุ์ ตั้งมาตรฐานการแบ่งเกรดดอก รวมไปถึงการขายเมล็ดพันธุ์บนปกหลังของนิตยสารให้กับผู้อ่านอีกด้วย

Photo credit: Amazon

การแข่งขัน High Times Cannabis Cup เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1988 และมักจะจัดในเดือนพฤศจิกาของทุกปี เป็นโอกาสที่ร้านกัญชาจะสามารถนำของมาโชว์ และสร้างชื่อเสียงให้กับผลงานของตัวเอง ผู้ชนะในครั้งแรกก็คือ ‘แซม สกั๊งค์แมน’ (Sam Skunkman - ภายใต้ชื่อ Cultivators Choice) กับสายพันธุ์ Skunk#1 ที่ดังในฝั่งแคลิฟอร์เนียมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1977

เป็นเวลากว่า 30 ปีของการแข่งขันจนกระทั่งปี ค.ศ. 2014 หลังจากที่มีเสรีกัญชาในประเทศอื่นๆ รวมไปถึงในสหรัฐฯ ที่เดินทางสะดวกและอากาศเป็นใจกว่า ทำให้จบตำนานของงาน Cannabis Cup ไปโดยปริยาย

ปัญหาและอนาคตของ Coffeeshops

นับตั้งแต่วันที่กัญชาถูกจัดเป็นสารเสพติดไม่ร้ายแรง และถูกยอมรับในสังคมตั้งแต่ในปี ค.ศ. 1976 ก็ไม่มีการออกระเบียบหรือร่างกฎหมายที่จะทำให้การค้ากัญชาเป็นไปอย่างโปร่งใสแต่อย่างใด ทุกคนในวงการธุรกิจกัญชาดัตช์ต่างก็เรียกร้องให้รัฐเข้ามาทำให้มีระบบการค้าและเสียภาษีชัดเจน เพราะพบกับการจับกุมและปัญหาหลังบ้าน (backdoor problem) ที่ไม่มีระบบหรือกฎหมายควบคุมด้านการปลูกหรือขายส่งให้กับร้าน

Photo credit: Amsterdam Red Light District Tours

ยิ่งผู้ว่าปัจจุบันของอัมสเตอร์ดัม ‘เฟมเก ฮาลส์มา’ (Femke Halsema) ตั้งใจออกมาตราการใหม่เพื่อลดสิทธิ์ของกัญชา อีกทั้งผลักดันกฎระเบียบใหม่ที่จะไม่ให้นักท่องเที่ยวเข้ามาใช้บริการร้าน coffeeshops เพื่อควบคุมเครือข่ายอาชญากรรมที่กำลังก่อตัวอยู่ในตลาดใต้ดิน

สถานการณ์ของร้าน coffeeshops และอนาคตเสรีกัญชาอย่างเต็มตัวอาจจะดูไม่ค่อยดีสักเท่าไหร่ แม้ว่าเส้นทางของเสรีกัญชานั้นกำลังเดินหน้าในประเทศอย่างสหรัฐฯ และประเทศไทย ประเทศเนเธอร์แลนด์ก็ยังไม่มีท่าทีว่าจะเคลื่อนไหวตาม

Dutch Social Institute

การเรียกร้านกัญชาว่า coffeeshops เป็นวิธีการที่คนดัตช์จะสร้างบรรยากาศห้องนั่งเล่น (living room atmosphere) ที่คนอื่นสามารถเข้ามาพักผ่อน และสูบกัญชาไปพร้อมกับดื่มชาร้อนหรือกาแฟได้ ไม่ว่าจะเป็นเวลาไหนของวันก็ตาม

กว่า 50 ปีที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ได้เปิดรับ coffeeshops เข้าสู่วัฒนธรรมชีวิตของขาวดัตช์ การสังสรรค์และการเข้าร้านสูบกัญชาก็ไม่ต่างจากการเลิกงานแล้วเข้าบาร์ไปดื่มสักแก้วก่อนกลับบ้าน ประชาชนดัตช์เห็นว่าการเลือกใช้กัญชาไม่ควรเป็นสิ่งที่ตัดสินศีลธรรมของมนุษย์คนหนึ่ง

อาจจะไม่ใช่แค่เพียงบราวนี่กัญชา space cake หรือดอกสายพันธุ์หลากหลายที่ทำให้อัมสเตอร์ดัมพิเศษกว่าที่อื่น แต่เพราะมันคือสถานที่ที่ทุกคนสามารถมานั่งสูบได้อย่างสบายใจโดยไม่ต้องกลัวกฎหมาย เป็นเมืองใน bucket list ที่สายเขียวต่างสัญญากันว่าสักวันหนึ่งจะต้องมาสูบกัญชาด้วยกันที่เมืองนี้ให้ได้

อ้างอิง

  • Amsterdam’s Coffeeshop Culture, Dismas Barbito
  • The History of The Mafia in Amsterdam, Steven Brown
Photo credit: I am Aileen

Amsterdam stands as the capital of the Netherlands and a hub for the liberation of cannabis consumption, pioneering the concept of consumption lounges, often referred to as “green spaces.” This progressive city has embraced marijuana use within such spaces since the 1970s, setting a precedent for the harmonious coexistence of cannabis enthusiasts and relaxed social settings. In the Netherlands, individual rights and freedoms have been a focal point, with public opinion often carrying more weight than government decisions. In that era, actions deemed unacceptable by society could trigger protests, pressuring officials to resign.

Photo credit: BYCS

Between 1964 and 1966, there was a period marked by demands for issues like cycling rights in the city, cigarette bans, environmental conservation, and countering distorted media narratives. These factors have contributed to Amsterdam becoming one of the most environmentally conscious “green cities” in Europe today, as well as one of the most LGBTQ+ friendly cities globally.

Even though the hippie movement introduced substances like LSD and hashish, Amsterdam faced a severe heroin epidemic during the 1960s and 1970s. This led to numerous students and young people being arrested and facing drug-related charges, resulting in loss of professions, drug addiction, and even fatalities. This youth issue prompted the Dutch government to seek new solutions, which involved changes to the Opium Act and the adoption of lenient policies, including the concept of Gedoogbeleid (tolerance policy).

Photo credit: Trouw

The Dutch strategy for managing the epidemic of substance abuse was a shift in attitude through the concept of harm reduction, aiming to understand the nature of drug users rather than viewing it solely as a criminal issue in society.

The World’s First Green Space

Following legal adjustments and the introduction of new policies, the Dutch government declared that cannabis wasn’t a problem and focused more on apprehending groups involved with harder drugs. This pivotal shift transformed the Dutch societal perspective towards cannabis and its users. Cannabis was classified as a mild substance, similar to coffee, cigarettes, or beer.

During that period, hippie groups often gathered at youth centers and social spaces, and consuming hash (which was more popular than marijuana in Europe) was a common practice. The idea of creating social spaces for cannabis consumption gave birth to the concept of the world’s first “coffeeshop” in Amsterdam.

หน้าร้าน Mellow Yellow ค.ศ. 1972 | Photo credit: Andere Tijden

Mellow Yellow was established in 1972 by Wernard Bruining, who saw an opportunity to open a cannabis shop with the support of like-minded individuals and the counterculture community. Wernard conceptualized the shop as a “tea house” where everyone could come in, enjoy tea, and smoke hash. Transactions were done subtly with employees sitting calmly together. The absence of a bar, menu, or any commercial documents allowed the shop to avoid police intervention for several years. 

Photo credit: Flickr

Unfortunately, the introduction of laws in 2017 that limited the proximity of coffeeshops to educational institutions to 250 meters resulted in the permanent closure of Mellow Yellow.

Consumption Lounge

Photo credit: Time Out

The iconic coffeeshops that have been in operation since the 1970s have established the benchmarks and atmosphere for cannabis venues in Amsterdam. They also serve as the genesis of both the green spaces and the open exchange of cannabis. Even though cannabis is accepted, there is still a lack of comprehensive legal backing. Being caught with more than 30 grams or cultivating more than 5 plants can lead to charges related to cannabis. The government has implemented regulations for these establishments, permitting them to maintain a stock of up to 500 grams daily and sell only 5 grams per individual. Patrons must be between 18 and 21 years old.

Furthermore, menus inside the shops are required to distinctly detail strain names, weights, prices, effects, and more. Additionally, smoking tobacco or combining it with cannabis within these venues is prohibited (a regulation introduced in 2008), as each location provides tobacco substitutes specifically for blending purposes.

Photo credit: Mistersmoke

The legendary establishment The Bulldog No. 90 is considered the first coffeeshop during 1974-1975. Founded by Henk de Vries, it was intentionally created to provide a space where people could come in, enjoy the ambiance with music, and smoke cannabis in a laid-back style. The place also offers a menu with a variety of cannabis strains, tea, and coffee options. Additionally, patrons can relax on sofas inside the shop.

Holland, Shangri La of Weed

After the year 1976 and the amendments to the Opium Act, cannabis became widely accepted in Dutch society, much like alcohol. Amsterdam evolved into a premier tourist destination for enthusiasts of the green scene, starting from the early 70s. The city became a hub for international cannabis trade, with various types of cannabis arriving from all corners of the globe, including hash from Afghanistan and Morocco, as well as dried marijuana buds from Africa and Indonesia. Additionally, Amsterdam became a significant exchange center for sharing information, seed trading, and strain development, particularly involving American and Dutch cultivators.

Photo credit: The New York Times

During the era of intense crackdowns in the United States, where law enforcement was actively pursuing and apprehending individuals in the cannabis industry, many American growers and breeders sought refuge from the risks of getting caught. A considerable number of them made the decision to relocate to Amsterdam, chasing their own dreams and aspirations. However, it wasn’t just the move that they brought with them; American expatriates also brought a wealth of knowledge and a new generation of hybrid strains. Notably, strains like Skunk #1 and Original Haze were introduced to the city’s scene, playing a role in establishing Amsterdam as a global center for cannabis breeding and innovation.

However, initially, these new strains faced limited acceptance within the coffeeshops. Hash dominated the market at that time, and the familiar dry marijuana buds often lacked robust aromas, failing to capture people’s attention. However, as the 80-90’s era unfolded in the coffeeshop culture, a shift began. Hybridization, mixing strains, and menu expansion gained momentum, leading to improved quality and potency of the flower buds. This marked a significant transformation in Amsterdam’s cannabis landscape.

The legendary Skunk#1

Photo credit: Bloomberg

The advancement of global cannabis quality (especially through collaboration between American and Dutch growers) has been significantly evident through competitions hosted by the American magazine High Times. Within the High Times Cannabis Cup event, strains are ranked, flower grading standards are established, and even seed sales are featured on the magazine’s cover, providing readers with a clear benchmark of progress and quality.

Photo credit: Amazon

The High Times Cannabis Cup competition began in 1988 and usually takes place in November of each year. It provides a platform for coffeeshops to showcase their products and establish their reputation through competition. The inaugural winner was Sam Skunkman (under the name Cultivators Choice), with the renowned Skunk#1 strain that gained fame in California since 1977.

For over 30 years, the competition continued until 2014. With cannabis becoming legal in various countries, including the United States, and with easier travel and improved conditions, the legendary Cannabis Cup event eventually came to a close.

Challenges and Future of Coffeeshops

Coffeeshops in the Netherlands have faced challenges due to the lack of clear regulations for the trade of cannabis, despite its acceptance since 1976. Issues such as arrests and the “backdoor problem” have highlighted the need for a structured approach that ensures transparent trading and taxation. Calls for government intervention to establish proper systems for cultivation and wholesale have grown louder. This would not only offer legal clarity but also enhance safety and transparency in the cannabis market. As the global cannabis landscape evolves, the Netherlands grapples with finding a balance between its cannabis-friendly reputation and a well-regulated, sustainable industry.

Photo credit: Amsterdam Red Light District Tours

The current mayor of Amsterdam, Femke Halsema, is actively pursuing new measures to restrict cannabis rights. She aims to introduce regulations that reduce marijuana privileges and is pushing for new rules to prevent tourists from accessing coffeeshops. These efforts aim to control the emerging underground crime networks. The situation for coffeeshops and the future of cannabis freedom might not seem very promising. While cannabis legalization is progressing in countries like the United States and Thailand, the Netherlands is currently not showing signs of moving in that direction.

Dutch Social Institute

Referring to cannabis establishments as “coffeeshops” is a way that the Dutch create a living room atmosphere, where people can relax, unwind, and enjoy both cannabis and hot beverages like tea or coffee at any time of the day.

For over 50 years, the Netherlands has integrated coffeeshops into Dutch culture. Socializing and visiting cannabis establishments is akin to stopping at a bar after work. Dutch citizens believe that using cannabis should not infringe upon individual moral judgments. It’s not just about the cannabis itself, whether it’s in the form of space cakes or various strains that make Amsterdam unique. It’s a place where everyone can comfortably enjoy cannabis without the fear of legal consequences. Cannabis enthusiasts dream of visiting this city, hoping for a time when they can come together to indulge in the magical plant.

Sources

  • Amsterdam’s Coffeeshop Culture, Dismas Barbito
  • The History of The Mafia in Amsterdam, Steven Brown